Am’walk Center

ชั้น 3 ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด 66 (0) 2378-9305 info@samitivej.co.th
สมิติเวช ศรีนครินทร์

ก้าวแรก(อีกครั้ง) สำคัญเสมอ

หนึ่งในปัญหาที่สำคัญของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือได้รับการบาดเจ็บไขสันหลัง/เส้นประสาท คือ ปัญหาการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยเฉพาะความสามารถด้านการเดิน  โรค/ภาวะดังกล่าวมักส่งผลให้ผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่สามารถเดินได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ อีกทั้งมีความกังวลและไม่มั่นใจต่อความสามารถของตนเอง ในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะเครียดหรือภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย

การกลับมาก้าวเดิน (อีกครั้ง) จึงเป็นการคืนความมั่นใจและคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ป่วยและครอบครัวเป็นอย่างดียิ่ง ดังนั้น ที่ผู้ป่วยได้รับการดูแล และฟื้นฟูสมรรถภาพ  โดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงเทคโนโลยีหุ่นยนต์ฝึกเดินที่ทันสมัยและเหมาะสมกับความสามารถของผู้ป่วยแต่ละรายจะทำให้ผู้ป่วยบรรลุเป้าหมายได้รวดเร็วเท่าที่ศักยภาพของผู้ป่วยจะมีได้ 

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ จึงจัดตั้งศูนย์ Am’walk ขึ้นเพื่อให้การฟื้นฟู ผู้ป่วยที่มีปัญหาการเดิน  บริการของศูนย์ฯครอบคลุมการตรวจประเมิน การวิเคราะห์ความสามารถด้านการเคลื่อนไหว รวมถึงการจัดหาหุ่นยนต์ฝึกเดินและอุปกรณ์ช่วยเดินที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถลุกขึ้นเดินได้อีกครั้งอย่างมั่นใจ เพราะเราเชื่อเสมอว่า ก้าวแรกด้วยความมั่นใจจะส่งผลที่ยิ่งใหญ่ต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว 

บริการของ Robotic & Exoskeleton “ ทุกปัญหาการเดิน เราเชี่ยวชาญ ”

โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่จัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูการเดินและการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ป่วยทุกวัย  พร้อมให้คำปรึกษาเพื่อกลับมาก้าวเดิน (อีกครั้ง)  โดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการเดิน ดังนี้ 

  • Performance evaluation and analysis : ตรวจประเมิน และวิเคราะห์ปัญหาในการเดิน  
  • Customized service to patient : วางแผนโปรแกรมการฝึกการเดินที่เหมาะสมเฉพาะรายบุคคล 
  • Device consultant : บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์ / เทคโนโลยี-นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเดิน อาทิ หุ่นยนต์ฝึกเดินเสมือนจริง (Exoskeletal) เครื่องช่วยเดิน (Gait aid) หรือกายอุปกรณ์เสริม (Orthosis) โดยทางศูนย์ฯพร้อมให้บริการดังกล่าวร่วมกับพันธมิตรซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ทำให้ผู้ป่วยได้รับอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของตนเอง ซึ่งที่ผ่านมาผู้ป่วยไม่ได้ข้อมูลของอุปกรณ์ที่เพียงพอ และหลากหลาย ทำให้หลายครั้งผู้ป่วยและครอบครัวต้องซื้ออุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วยแต่ละท่าน 

เทคโนโลยีทางการแพทย์

เทคโนโลยีหุ่นยนต์ฝึกเดินในปัจจุบันเป็นหุ่นยนต์ฝึกเดิน Robotic assisted gait training เทคโนโลยีที่มีการคิดค้นและพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขข้อจำกัดในการเดินด้วยวิธีการใช้หุ่นยนต์ โดย รูปแบบหลัก คือ  Treadmill-based robotic เป็นการฝึกเดินบนลู่ มีระบบพยุงตัว (Body weight support) ร่วมกับควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อสะโพกและข้อเข่าขณะฝึกเดิน หุ่นยนต์ฝึกเดินประเภทนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว โดยยังไม่สามารถทรงตัวในท่ายืนได้ด้วยตนเอง เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาเดินได้เร็วขึ้น (Early ambulation) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วย อีกทั้งสามารถลดการบาดเจ็บจากการเคลื่อนไหวที่ผู้ป่วยยังไม่สามารถควบคุมได้    

ศูนย์ Am’walk เราพัฒนาเทคโนโลยีล้ำหน้าไปอีกขั้น เพื่อเน้นการใช้ Mobile robotic  เป็นหุ่นยนต์ฝึกรูปแบบใหม่ที่นิยมและยอมรับในต่างประเทศ หุ่นยนต์ฝึกเดินประเภทนี้จะช่วยพยุงผู้ป่วยให้สามารถเดินบนพื้นจริง (On ground training) ไปยังทิศทางต่างๆ ที่ตนเองต้องการได้อย่างอิสระ โดยหุ่นยนต์ฝึกเดินเสมือนจริง (Exoskeletal) เปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของร่างกายที่ช่วยพยุง และรักษาสมดุลการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว  

ทีมเเพทย์และนักกายภาพบำบัดจะมีการเลือกใช้หุ่นยนต์ฝึกเดิน รูปแบบต่างๆที่เหมาะสมกับปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย  โดยผู้ป่วยจะได้รับการประเมินศักยภาพและความสามารถทางด้านการเดินให้เหมาะสมกับระดับการช่วยเหลือจากหุ่นยนต์ฝึกเดินเสมือนจริงแต่ละแบบ ทั้งนี้อาจรวมถึงอุปกรณ์เสริม (Gait aid) ร่วมด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ฝึกเดินได้อย่างปลอดภัย   

ศูนย์ Am’walk เพื่อช่วยกลุ่มผู้ที่มีปัญหาการลุกขึ้นยืน การทรงตัวในท่ายืน  ประสบปัญหาในการเริ่มก้าวเดินหรือ รูปแบบการเดินผิดปกติ อาทิจาก 4 กลุ่มโรคหลัก 

  1. ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง(stroke) และผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมอง(TBI) 
  2. ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง (SCI) 
  3. ผู้สูงอายุ อ่อนแรงกล้ามเนื้อขาส่วนล่าง หรือผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการลงน้ำหนัก  
  4. (Geriatric lower limb weakness) 
  5. กลุ่มโรคสมองพิการแต่กำเนิด (CP) : เด็กและผู้ใหญ่ 

จากการศึกษางานวิจัยจากต่างประเทศ หลายบทความพูดตรงกันว่าการฝึกเดินด้วย mobile robotic จะช่วยเพิ่มความเร็วในการเดิน และความทนทานในการเดิน เพื่อส่งเสริม ระยะการเดินได้ไกลมากขึ้น  ในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง (SCI)  

Our Doctors


References:  

What does best evidence tell us about robotic gait rehabilitation in stroke patients: A systematic review and meta-analysis. Journal of Clinical Neuroscience 48 (2018) 11–17. 

Spinal cord injury 

  1. The physiological cost index of walking with mechanical and powered gait orthosis in patients with spinal cord injury Spinal Cord (2013) 51, 356–359: Improve walking speed, the distance walked and the physiological cost index. 
  2. Robotic exoskeletons: The current pros and cons. World J Orthop 2018 September 18; 9(9): 112-119. 

Cerebral palsy 

  1. Robotic Gait Training for Individuals With Cerebral Palsy: A Systematic Review and Meta-Analysis. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation 2017, 98:2332-44: Meta-Analysis shows improvement of walking speed and endurance and improving gross motor function. 
  2. Technological Advancements in Cerebral Palsy Rehabilitation. Phys Med Rehabil Clin N Am 31 (2020) 117–129.