กระตุ้นสมอง (บอกลาไมเกรน) ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS

HIGHLIGHTS:

  • การรักษาด้วยการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ช่วยลดและป้องกันภาวะปวดศีรษะไมเกรนได้
  • การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS ช่วยเพิ่มการตอบสนองต่อการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ลดอาการได้ 50% และทำให้อาการหายขาดได้ 40%
  • การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความปลอดภัยสูง เป็นการรักษาที่ไม่ต้องดมยาสลบและไม่เจ็บปวด
กระตุ้นสมอง (บอกลาไมเกรน) ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS

ผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท ตั้งแต่ปวดศีรษะเรื้อรัง ไมเกรน ไปจนถึงโรคหลอดเลือดสมองที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงโรคจิตเวช ความจำเสื่อม หรือผู้ป่วยที่นอนติดเตียง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการรักษาเพียงรับประทานยาหรือทำกายภาพบำบัด  แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ามาช่วยรักษาและฟื้นฟูการทำงานของสมอง โดยไม่เป็นอันตราย ไม่เจ็บปวด เป็นการรักษาที่ไม่ต้องดมยาสลบ และใช้เวลาในการรักษาเพียง 30-60 นาที ซึ่งให้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ

TMS Therapy คือ

TMS Therapy คือ การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation-TMS)  คือการเหนี่ยวนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่นเดียวกับการทำ MRI) แล้วส่งพลังงานจากหัวจ่ายพลังงานผ่านกะโหลกไปยังสมอง ก่อให้เกิดการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในเซลล์สมองและส่งต่อพลังงานไปยังเซลล์สมองที่อยู่ต่อเนื่องกัน โดยพลังงานจะทำการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ของเซลล์ประสาทและเกิดการปรับเปลี่ยนการทำงาน ทำให้เกิดการกระตุ้น หรือยับยั้งเซลล์สมอง ซึ่งขึ้นอยู่กับทิศทางและขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ได้รับ

การกระตุ้นแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • การกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะ (transcranial Direct Current Stimulation; tDCS) เป็นการกระตุ้นที่ส่งผลต่อสมองส่วนต่างๆ เป็นบริเวณกว้างและไม่เฉพาะเจาะจง
  • การกระตุ้นซ้ำด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านกะโหลกศีรษะ (repetitive Transcranial Magnetic Stimulation; rTMS) เป็นการกระตุ้นที่ส่งผลต่อสมองเฉพาะบริเวณที่ได้รับการกระตุ้นเป็นบริเวณแคบกว่าการกระตุ้นด้วย tDCS

การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กช่วยในการทำงานของสมองอย่างไร

เมื่อเซลล์สมองได้รับพลังงาน จากการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ภายในเซลล์สมองจะเกิดการเปลี่ยนแปลง การไหลของประจุไฟฟ้าชนิดต่างๆ  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ที่บริเวณผิวเซลล์  ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนการทำงานของเซลล์สมอง ดังนี้

  • ปรับเปลี่ยนการหลั่งสารสื่อประสาทบางตัว เช่น catecholamine, dopamine ทำให้เพิ่มหรือลดการทำงานของเซลล์ประสาท รวมถึงช่วยให้เซลล์ประสาทมีการทำงานประสานกันมากขึ้น (synaptic plasticity)
  • เพิ่มการทำงานของเซลล์ผนังหลอดเลือด ทำให้เพิ่มการไหลเวียนของเลือดบริเวณที่ได้รับการกระตุ้นมากขึ้น (increase regional blood flow)
  • เพิ่มการหลั่งปัจจัยบำรุงสมอง (activity-dependent brain-derived neurotrophic factor -BDNF) ส่งผลให้เกิดการงอกใหม่ของเส้นใยประสาท ผลดังกล่าวอาจเกิดไม่เท่ากันในทุกคนเนื่องจากปัจจัยทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน

นอกจากทำการกระตุ้นที่สมองแล้ว การรักษาด้วยวิธีการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ยังสามารถทำการกระตุ้นในระบบประสาทส่วนปลาย เช่น ไขสันหลัง เส้นประสาท กล้ามเนื้อ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยนการทำงานในส่วนนั้นๆ ได้เช่นกัน

โดยผลของการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าจะเกิดขึ้นและเกิดการปรับเปลี่ยนต่อเนื่องอีกระยะหนึ่งหลังจากรับการกระตุ้นแล้ว ซึ่งผลดังกล่าวจะเป็นผลระยะยาว (Long-lasting after effect)

ประโยชน์ของการรักษาด้วยการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

การรักษาด้วยการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ได้รับการยอมรับว่าเป็นมาตรฐานของการรักษาในหลายภาวะ โดยการรับรองขององค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (approved by US FDA) ซึ่งให้ผลการรักษาโรคต่างๆ  ดังนี้

  • โรคซึมเศร้าช่วยเพิ่มการตอบสนองต่อการรักษา ซึ่งลดอาการได้ 50% และทำให้อาการหายขาดได้ 40%1,2
  • การฟื้นฟูหลังจากภาวะโรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลดีขึ้น 30%2,3 ทั้งเรื่องการเคลื่อนไหว4การใช้ภาษาการกลืน และเพิ่มการเคลื่อนไหวของมือได้ดีขึ้น6,7
  • ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อชนิดDystonia8   
  • ลดอาการปวดเรื้อรัง9
  • ลดและป้องกันภาวะปวดศีรษะไมเกรน10
  • ยับยั้งอาการชักในกรณีที่ดื้อต่อยากันชัก11
  • หาตำแหน่งที่แม่นยำของเนื้อสมองก่อนการผ่าตัด12
  • กระตุ้นสมองให้ตื่นตัวมากขึ้นในผู้ป่วยโคม่า13,14
  • กระตุ้นความจำในผู้ป่วยความจำเสื่อม15

ความปลอดภัยของการรักษาด้วยการกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า

  • เป็นการรักษาที่ไม่ต้องดมยาสลบและไม่เจ็บปวด
  • สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้และสามารถทำต่อเนื่องติดต่อกันได้
  • ใช้เวลาในการรักษาประมาณ30-60 นาที
  • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไม่มีการใช้รังสีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างรับการรักษา

  • กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก ซึ่งเกิดจากการกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • มึนศีรษะ หรือมีเสียงดังในหู
  • ภาวะชักซึ่งพบได้น้อยมาก (<1%)

การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ถือเป็นการรักษาแนวใหม่และเป็นทางเลือกต่อโรคทางระบบประสาท มีความปลอดภัยสูง สามารถเข้ารับการรักษาได้หลายครั้ง  และมีผลกระทบจากการรักษาน้อยมาก ทั้งนี้การรักษาจะได้ผลดียิ่งขึ้น หากทำร่วมกับวิธีอื่นๆ เช่น การใช้ยาเพื่อปรับอาการรวมไปถึงการทำกายภาพบำบัดต่อเนื่อง จะทำให้ผู้ป่วยได้รับผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด

สอบถามเพิ่มเติม

*โปรดระบุ

ชื่อ*
ชื่อ*
นามสกุล*
นามสกุล*
ประเภทคำถาม*
ประเภทคำถาม*
คำถามของคุณ*
คำถามของคุณ*
อีเมล*
อีเมล*
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?