อาจไม่ใช่แค่นอนกรน แต่หยุดหายใจขณะหลับ

อาจไม่ใช่แค่นอนกรน แต่หยุดหายใจขณะหลับ

นอนกรน คืออะไร

“นอนกรน” เกิดจากการที่ขณะหลับมีการสั่นสะเทือนของลิ้นไก่และเพดานอ่อนที่แรงมากกว่าปกติ เนื่องจากตอนนอน กล้ามเนื้อส่วนนี้มีการหย่อนคล้อยลงมา ทำให้เกิดการปิดกั้นเส้นทางการหายใจ เราจึงหายใจเอาอากาศเข้าสู่หลอดลมและปอดได้ไม่สะดวก ลมที่ถูกปิดกั้นนี้ทำให้ลิ้นไก่และเพดานอ่อนเกิดการสั่นกระพือจนเกิดเป็นเสียงกรนขึ้นนั่นเอง

นอนกรน เกิดจากอะไร

ส่วนใหญ่แล้วคนที่นอนกรนจะมีช่องที่หลังลิ้นไก่แคบ ซึ่งเป็นมาตั้งแต่เกิด แต่กรนเกิดขึ้นภายหลังจากปัจจัยเสริม ได้แก่ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ขนาดของคอ เนื้อรอบคอที่มีมาก ทำให้มีขนาดคอใหญ่ หรือเป็นจากโรคทางระบบประสาททำให้กล้ามเนื้อที่คอมีความอ่อนแอ

นอนกรน อันตรายไหม

การนอนกรนนั้นอาจเป็นอันตรายมากกว่าที่คิดได้ คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการนอนกรนนั้นดูเป็นเรื่องเล็กน้อย  บางคนคิดว่าเป็นการบอกว่าเราหลับสนิทเสียอีก ซึ่งทางการแพทย์ได้พิสูจน์แล้วว่า จริงๆ แล้ว การนอนกรนนั้น เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายผิดปกติ และมีการรบกวนการนอนหลับ  

การนอนกรนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย และการนอนกรนที่รุนแรงและต่อเนื่องนั้น ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสำคัญๆ ต่างๆ หลายโรคได้ อาทิเช่น 

  • โรคความดันโลหิตสูง 
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • อัมพฤกษ์อัมพาต
  • สมรรถภาพทางเพศถดถอย
  • และอาจถึงขั้นเสียชีวิตจากการหยุดหายใจในขณะหลับได้   

ถึงแม้การนอนกรนอาจไม่ทำอันตรายกับสุขภาพ แต่ก็อาจสร้างปัญหาอย่างอื่นได้ เช่น มีปัญหากับชีวิตคู่ ปัญหาทางสังคม ทำให้เกิดความรู้สึกอาย หรือ เสียบุคลิกภาพ เป็นต้น

นอนกรนแบบธรรมดา

การนอนกรนแบบธรรมดา คือการนอนกรนเสียงดังอย่างเดียว ถือเป็นภาวะที่ก่อความรำคาญต่อคู่สมรส หรือคนอื่นๆ ที่นอนร่วมห้อง หรือข้างเคียง ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตคู่ สร้างความอับอาย ทำให้ไม่กล้านอนร่วมห้องกับผู้อื่น

นอนกรนที่เกิดจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea)

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เกิดจากการที่มีทางเดินหายใจแคบมากในเวลาหลับ โดยที่เมื่อยังหลับไม่สนิทจะยังเป็นการกรนที่สม่ำเสมอ แต่เมื่อหลับสนิทจะเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ และจะมีช่วงหยุดกรนไปชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการหยุดหายใจ (Obstructive sleep apnea) ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับการกลั้นหายใจ

หยุดหายใจขณะหลับ อันตรายไหม

ช่วงที่หยุดหายใจนี้เอง ที่ทำให้เกิดอันตรายเนื่องจากระดับออกซิเจนในเลือดแดงจะลดต่ำลงอย่างมาก  ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ปอด และสมอง ซึ่งร่างกายจะมีกลไกตอบสนองต่อภาวะนี้ โดยสมองของเราจะถูกปลุกหรือกระตุ้นให้ตื่นขึ้น ทำให้การหลับของเรานั้นถูกรบกวน ทำให้เราต้องตื่นขึ้นเพื่อหายใจใหม่ สามารถสังเกตได้ว่าจะมีอาการสะดุ้งตื่น หรือมีอาการคล้ายๆ กำลังสำลักน้ำลายตนเอง หรือบางคนอาจมีอาการหายใจอย่างแรงเหมือนขาดอากาศ

อาการตอบสนองเหล่านี้เป็นไปเพื่อทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอีกครั้ง แต่หลังจากนั้นไม่นาน สมองจะเริ่มหลับอีก และก็จะเกิดภาวะขาดอากาศอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า วนเวียนอย่างนี้เป็นจำนวนหลายครั้งในแต่ละคืน แต่หลายคนคงอยากรู้ว่าเหมือนเราตื่นบ่อย แต่ทำไมเราจำไม่ได้ว่ามีอาการตื่น เนื่องจากการตื่นเพื่อให้มีอากาศเข้าไปในปอด เป็นเพียงไม่กี่วินาที ทำให้เราจำไม่ได้ ยิ่งหยุดหายใจมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งส่งผลให้กลางวันง่วงมากหรือเพลียมากเท่านั้น

อาการของภาวะ หยุดหายใจขณะหลับ

ในบางครั้งผู้ที่นอนกรน ไม่สามารถรู้ว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วยหรือไม่ อาจให้คนใกล้ชิดช่วยสังเกตอาการให้ เช่น 

  • มีอาการสะดุ้งตื่น
  • มีอาการคล้ายๆ สำลักน้ำ 
  • มีอาการหายใจอย่างแรงเหมือนขาดอากาศ
  • อาจพิจารณาด้วยตนเองว่า เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกว่านอนหลับไม่เต็มอิ่ม
  • รู้สึกไม่สดชื่น ทั้งที่มีเวลานอนพียงพอหรือปวดศรีษะเป็นประจำในตอนเช้า
  • มีอาการของกรดไหลย้อน เป็นต้น

แนะนำโปรแกรมตรวจหาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ คลิกที่นี่

สอบถามเพิ่มเติม

*โปรดระบุ

ชื่อ*
ชื่อ*
นามสกุล*
นามสกุล*
ประเภทคำถาม*
ประเภทคำถาม*
คำถามของคุณ*
คำถามของคุณ*
อีเมล*
อีเมล*
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?