เส้นเอ็นคลุมข้อไหล่ฉีกขาด

เส้นเอ็นคลุมข้อไหล่ฉีกขาด

เส้นเอ็นคลุมข้อไหล่ คืออะไร

เส้นเอ็นคลุมข้อไหล่ (Rotator cuff) ประกอบด้วยเส้นเอ็นของกล้ามเนื้อ 4 เส้น ที่ปกคลุมหัวกระดูกต้นแขน ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ supraspinatus, infraspinatus, subscapularis และ teres minor กล้ามเนื้อกลุ่มนี้มีหน้าที่ในการยกแขน และหมุนข้อไหล่

การวินิฉัย เส้นเอ็นคลุมข้อไหล่ฉีกขาด

การฉีกขาดของเส้นเอ็น มักพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 40 ปี วิธีการที่ใช้ในการรักษาภาวะเส้นเอ็นคลุมข้อไหล่ฉีกขาด ไม่มีแบบแผนหรือขั้นตอนวิธีการรักษาที่แน่นอน จะใช้การพิจารณาเป็นรายๆไป โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ได้แก่

  • อาการทางคลีนิค
  • การวินิจฉัยทางรังสีวิทยา
  • อายุของผู้ป่วย
  • ขนาดของการฉีกขาด
  • ระยะเวลาของการบาดเจ็บ
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

รวมทั้งพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ก่อนการผ่าตัดและสิ่งที่ตรวจพบระหว่างการผ่าตัดในผู้ป่วยคนนั้น เช่น คุณภาพของเส้นเอ็นที่เหลืออยู่ การหดตัวของเส้นเอ็น

การรักษา เส้นเอ็นคลุมข้อไหล่ฉีกขาด

การรักษาจะมีลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มผู้ป่วย เช่นที่มาหาด้วยอาการแบบเฉียบพลัน (acute traumatic rotator cuff tear) ซึ่งมักจะเกิดในผู้ป่วยอายุน้อย สามารถให้การรักษาโดยการซ่อมแซมเย็บซ่อมกลับในที่เดิม โดยวิธีส่องกล้องและเริ่มทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูได้เร็ว ในทางตรงกันข้ามผู้ป่วยสูงอายุมักจะมีสาเหตุการฉีกขาดจากภาวะเสื่อม (degenerative torn) บาดแผลการฉีกขาดมักจะมีขนาดใหญ่ และเนื้อเยื่อไม่ค่อยดี การเปิดแผลผ่าตัดจะสามารถซ่อมแซมได้แข็งแรงกว่า แต่มีบาดแผลขนาดใหญ่กว่า และอาจปวดแผลหลังการผ่าตัดมากกว่า ผลของการรักษาขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด วิธีการผ่าตัด การดูแลและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัด รวมทั้งประสบการณ์ของแพทย์ผู้ผ่าตัด

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เส้นเอ็นคลุมข้อไหล่ฉีกขาด ผู้ป่วยมักจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • เกิดอาการเจ็บบริเวณข้อไหล่ทันที
  • อาการเจ็บแปลบ เหมือนโดนมีดบาด
  • ยกแขนไม่ขึ้นหรือ อ่อนแรง
  • ได้ยินเสียงเอ็นขาด “POP”
  • มีเสียงดังในข้อไหล่เวลาขยับ
  • มีอาการปวดไม่สามารถนอนทับแขนข้างที่มีปัญหาได้

เอ็นไหล่ฉีก จำเป็นต้องผ่าตัดรักษาไหม?

“ไม่จำเป็น” ถ้าคุณใช้ชีวิตประจำวัน และ มีกิจกรรมแบบไม่รุนแรง ไม่ต้องการการทำงานที่ใช้แขนสูงกว่าศีรษะ แต่การที่ไม่ผ่าตัด ไม่ได้หมายความว่าไม่ทำการรักษา แต่จะเป็นการรักษาแบบอนุรักษ์ คือ รับประทานยาต้านการอักเสบ และลดปวด ทำกายภาพบำบัด และการบริหารกล้ามเนื้อรอบๆหัวไหล่ นอกจากนี้ต้องพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรม หรือ กีฬาที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำได้อีก เพราะการบาดเจ็บซ้ำจะทำให้มีการฉีกขาดเพิ่มเติมในข้อไหล่ อันจะนำโรคข้อไหล่เสื่อมมาให้ในอนาคต

“ควรผ่าตัด” ถ้าคุณเป็นคนที่ทำงานหรือเล่นกีฬาที่ต้องการประสิทธิภาพของร่างกายอย่างสูง การฉีกขาดทำให้มีอาการปวดรบกวนต่อชีวิตประจำวัน หรือมีอาการอ่อนแรงของแขน ควรจะทำการผ่าตัดรักษา ซ่อมเส้นเอ็นคลุมข้อไหล่ และควรจะทำอย่างยิ่ง ในกรณีที่มีอาการมาไม่มากนัก เนื่องจากเส้นเอ็นคลุมข้อไหล่ที่ฉีกขาดมาไม่นาน ให้ผลการรักษาที่ดีกว่า แต่อย่างไรก็ตาม

ก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัด ควรจะมีลักษณะดังนี้คือ

  • หยุดสูบบุหรี่,ยาต้านเกร็ดเลือด ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด
  • ข้อไหล่ควรจะสามารถขยับได้ใกล้เคียงกว่าปกติ

การผ่าตัด เป็นเพียงการซ่อมแซม เส้นเอ็นที่ฉีกขาด แต่ไม่ได้ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น การทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพภายหลังการผ่าตัด จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะไม่ใช่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถขยับข้อไหล่ได้ดีขึ้น แต่จะช่วยในการฟื้นฟูประสิทธิภาพของระบบประสาทสั่งงาน ที่ช่วยให้กล้ามเนื้อมีแรงมากขึ้นด้วย

FitLAB

FitLAB ดูแลรักษานักกีฬาอาชีพ และมีประสบการณ์ผ่าตัดแบบส่องกล้อง เพื่อรักษาผู้ที่มีปัญหาการบาดเจ็บเอ็นและข้อมากกว่า 1,600 ราย* ให้กลับมาฟิตและโชว์ฟอร์มได้แกร่งกว่าเดิม เข้าไปฟิตที่ FitLAB คลิก

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่องกล้องโรคข้อ และเวชศาสตร์การกีฬาออร์โธปิดิกส์ หรือขอทราบราคาผ่าตัด คลิกที่นี่ 

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?