เนื้องอกรังไข่ โรคภัยใกล้ตัวคุณผู้หญิง

เนื้องอกรังไข่ โรคภัยใกล้ตัวคุณผู้หญิง

เมื่อกล่าวถึงโรคภัยไข้เจ็บระหว่างคุณผู้หญิงกับคุณผู้ชายเราอาจจะบอกได้ว่าจริงๆ ก็มีเหมือนกันทั้งคู่ แต่เราต้องยอมรับว่า โรคภัยในคุณผู้หญิงน่าจะมีมากกว่าและมีความซับซ้อนยิ่งกว่า ยิ่งโดยเฉพาะอวัยวะภายในของคุณผู้หญิงด้วยแล้ว อัตราการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ มีสูงทีเดียว ซึ่งโรคภัยเหล่านั้นบางทีก็เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติ มีมาตั้งแต่กำเนิดอาศัยอยู่ในร่างกายมาโดยตลอดเพียงรอวันที่จะเติบโตเท่านั้น ทั้งนี้ หนึ่งในโรคที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้ามเมื่อเกิดความผิดปกติจากประจำเดือน ก็คือ “ เนื้องอกรังไข่ ” ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักโรคนี้กัน มาดูว่าเป็นภัยใกล้ตัวกับคุณผู้หญิงขนาดไหน มาเริ่มกันเลย

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับรังไข่กันก่อน

รังไข่ก็คืออวัยวะสำคัญของผู้หญิงเทียบเท่ากับอัณฑะในผู้ชาย มีลักษณะเป็นรูปไข่โดยปกติขนาด 2-3 ซม.จะอยู่ข้างปีกมดลูกทั้งสองข้าง โดยรังไข่จะทำหน้าที่หลัก 2 อย่าง คือ การผลิตฮอร์โมนเพศหญิง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายทำให้ผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงร่างกายเป็นผู้หญิงอย่างสมบูรณ์ ส่วนหน้าที่หลักอย่างที่สองก็คือ การผลิตไข่ ซึ่งรอเวลาที่จะผสมกับน้ำเชื้อของผู้ชาย จนกลายเป็นตัวอ่อน ส่วนเนื้องอกรังไข่นั้น คือ ก้อนที่เกิดขึ้นที่รังไข่ เป็นโรคที่พบได้บ่อย สามารถพบได้ในผู้หญิงทุกอายุ โดยทั่วไปแล้ว เนื้องอกรังไข่ จะแบ่งออกตามลักษณะการตกของไข่ เป็น 2 ชนิดด้วยกันคือ

  1. ถุงน้ำ (Cyst) เป็นเนื้องอก ที่มีลักษณะเป็นถุง ภายในบรรจุของเหลว น้ำ เนื้อเยื่อ หรือไขมันภายใน
  2. เนื้อตันบางส่วนเป็นเนื้อร้าย (มะเร็ง)

การเกิดเนื้องอกรังไข่ แต่ละชนิดก็มีที่มาแตกต่างกันออกไป ในที่นี้เราขอยกมาเฉพาะเนื้องอกรังไข่แบบธรรมดา คือชนิดไม่ร้ายแรง

สาเหตุของเนื้องอกรังไข่

ปัจจัยเสี่ยงที่พบว่าสัมพันธ์กับการเกิดเนื้องอกรังไข่แบบไม่ร้ายแรงนี้ ได้แก่

  • โรคอ้วน
  • การมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุน้อยกว่า 11 ปี
  • ผู้หญิงที่มีบุตรยาก
  • เคยมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
  • การกินยาต้านฮอร์โมนเพศหญิง

รวมถึงการสูบบุหรี่ก็มีผลเช่นกัน

เนื้องอกรังไข่ อาการเป็นอย่างไร

ส่วนอาการที่แสดงออก ส่วนใหญ่ตอนที่ก้อนเนื้องอกยังมีขนาดเล็กมักไม่มีอาการแต่เมื่อเนื้องอกเริ่มโตขึ้น ก็จะเริ่มแสดงอาการผิดปกติออกมา คือ

  • ประจำเดือนผิดปกติ
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • ท้องผูก เนื่องจากเนื้องอกอาจไปกดเบียดลำไส้
  • ท้องอืด
  • เบื่ออาหาร
  • ท้องโตขึ้น
  • ปวดท้องเฉียบพลัน

เนื้องอกรังไข่อาจไม่แสดงอาการอะไรเลย

ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการอะไรเลย คือ ไม่มีความผิดปกติใดเลย มาพบแพทย์ด้วยเรื่องอื่นหรือมาตรวจสุขภาพประจำปีจึงมีการตรวจพบก้อนเนื้องอกหรือเมื่อมีอาการก็มักเป็นระยะที่ลุกลามมากแล้ว ซึ่งอย่างที่เรียนให้ทราบเมื่อก้อนยังมีขนาดเล็กผู้ป่วยก็จะไม่สามารถสัมผัสถึงความผิดปกติได้ แต่ถ้าก้อนโตขึ้นท้องก็จะโตขึ้น จนคลำก้อนได้ถึงจะรู้ว่ามีเนื้องอก

การรักษาเนื้องอกรังไข่

ส่วนการรักษาแพทย์จะทำการตรวจเพื่อวิเคราะห์ก้อนเนื้อว่าเป็นชนิดใดซึ่งวิธีการตรวจวิเคราะห์ก็ทำได้หลากหลายวิธี เมื่อแน่ใจแล้วว่าเป็นก้อนเนื้อแบบไหนก็จะเจาะจงการรักษาลงไปอีกครั้ง ผู้ป่วยที่ยังมีก้อนขนาดเล็กที่สงสัยว่าเป็นถุงน้ำอาการตกไข่ แพทย์ก็จะให้ยารับประทาน ประกอบกับติดตามเฝ้าดูอาการและขนาดของก้อนเนื้อว่ามีขนาดเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไรด้วยการอัลตราซาวด์ บางรายก้อนอาจจะเล็กลงมากแต่หากรักษาด้วยยาและติดตามการรักษาเป็นระยะแล้วก้อนไม่ยุบ และยิ่งมีอาการโตขึ้น แพทย์ก็จะทำการผ่าตัดก้อนเนื้องอก

ซึ่งปัจจุบันก็จะใช้วิธีการผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) ซึ่งเป็นรูปแบบการผ่าตัดแบบ MIS คือเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็กและเจ็บน้อย ซึ่งก็เป็นวิธีการผ่าตัดที่ง่ายและสะดวกต่อคนไข้มาก
เนื่องจากเนื้องอกรังไข่ ทางการแพทย์ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด จงจำไว้ว่าแม้จะมีวิธีการรักษาที่ดีมากอย่างไรแต่ทางที่ดีที่สุดไม่ใช่การรักษา ทางที่ดีที่สุดคือการดูแลตัวเองให้ลดปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรค การแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทางจะเป็นการง่ายกว่าคุ้มค่ากว่าการแก้ปัญหาปลายทาง จึงนับได้ว่าเนื้องอกรังไข่ เป็นหนึ่งโรคที่ใกล้ตัวคุณผู้หญิงจริง ๆ

รู้จักกับคุณหมอโซ่สกุล บุณยะวิโรจ กับการผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช

พลเรือตรี นพ. โซ่สกุล บุณยะวิโรจ มีความเชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช โดยคุณหมอจบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และยังมีวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา แพทยสภา โดยคุณหมอมีความชำนาญด้านการผ่าตัดเกี่ยวกับโรคทางนรีเวช เช่น

การพักฟื้น และการดูแลหลังผ่าตัดเนื้องอกรังไข่

  • การผ่าตัดเนื้องอกรังไข่ พักฟื้นกี่วัน : หลังการผ่าตัดส่องกล้องแบบ MIS ระยะเวลาการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดจะเร็วกว่า เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบดั้งเดิมที่มักใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ โดยถ้าผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม การผ่าตัดส่องกล้องก็จะสามารถฟื้นตัวได้ภายใน 2 สัปดาห์
  • ห้องพักผู้ป่วยที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน : หลังการผ่าตัดส่องกล้อง MIS ส่วนใหญ่จะอยู่พักรักษาตัวที่โรงพยาบาล 1-2วัน โดยที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท มีห้องพักผู้ป่วยที่มี สิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ต่างๆ ที่คนไข้หรือผู้รับบริการสามารถใช้เทคโนโลยี ควบคุมทุกอย่างได้ เช่น ระบบไฟ ระบบผ้าม่าน ระบบแอร์ โดยไม่ต้องลุกจากเตียง ที่ห้อง Intelligent Ward คลิกเพื่อชมห้องพักผู้ป่วย
  • บริการ Samitivej PACE ติดตามคนไข้ทุกสถานะการผ่าตัด : เพราะ #เราไม่อยากให้ใครห่วง โรงพยาบาลสมิติเวชจึงมีบริการ Samitivej PACE ระบบติดตามทุกสถานการณ์ผ่าตัด ช่วยให้เราสามารถรู้สถานะคนไข้ว่ากำลังอยู่ในขั้นตอนไหน เช่น กำลังอยู่ในห้องผ่าตัดหรือห้องพักฟื้น ซึ่งไม่ว่าญาติผู้ป่วยจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถเข้าไปดูสถานะการผ่าตัดได้ทุกที่ ทุกเวลา เพียงแอดไลน์ @Samitivej

ห้องผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช ที่ศูนย์ Critical Care Complex

ห้องผ่าตัดที่ศูนย์ Critical Care Complex แตกต่างจากห้องผ่าตัดทั่วไป เพราะเราใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผ่าตัด เช่น ระบบหมุนเวียนอากาศภายในห้องผ่าตัดมีการกรองแบคทีเรียและเชื้อโรคต่างๆ เป็นแบบ laminar flow อากาศสะอาดจะไหลผ่านทางเดียวจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง ไม่มีอากาศภายนอกเข้ามาปนเปื้อน ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยมากขึ้น โอกาสที่จะติดเชื้อในแผลผ่าตัดก็มีน้อยลง

คลิกชมวิดีโอห้องผ่าตัด ที่ศูนย์ Critical Care Complex

 
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?