เด็กโตช้า…ตัวเตี้ย

เด็กโตช้า…ตัวเตี้ย

HIGHLIGHTS:

  • เด็กจะสูง หรือ เด็กเตี้ย “กรรมพันธุ์” เป็นปัจจัยที่สำคัญ
  • ไม่อยากให้ลูกตัวเตี้ย ควรให้ลูกนอนหลับพักผ่อนอย่างน้องวันละ 8-10 ชั่วโมง
  • หากเด็กมีการเจริญเติบโตเบี่ยงไปจากเส้นกราฟเจริญเติบโต (Growth chart) ปกติ โดยส่วนสูงอยู่ต่ำกว่าเส้นล่างสุดของกราฟการเจริญเติบโต อาจบ่งบอกว่าเด็กโตช้า

วัยเด็ก เป็นช่วงชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย รวมทั้งมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ เด็กที่มีการเจริญเติบโตช้าอาจจะบ่งบอกถึงความผิดปกติของโรคบางอย่างที่ซ่อนเร้นอยู่และควรได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมแต่เนิ่นๆ

เราจะทราบได้ว่าเด็กเจริญเติบโตได้เหมาะสมหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับอัตราการเพิ่มความสูงของเด็กชายและเด็กหญิงในแต่ละวัย หรือกราฟการเจริญเติบโต (growth chart) ถ้าเด็กมีการเจริญเติบโตเบี่ยงไปจากเส้นกราฟปกติ ควรนำเด็กมาปรึกษาแพทย์

อัตราการเพิ่มความสูงของเด็กชายและเด็กหญิงในแต่ละวัย

อายุ อัตราการเพิ่มความสูง
แรกเกิด – 1 ปี 25 เซนติเมตร/ปี
1 – 2 ปี 12 เซนติเมตร/ปี
2 – 3 ปี 7 เซนติเมตร/ปี
4 ปี – ช่วงก่อนเข้าวัยรุ่น 5 – 7 เซนติเมตร/ปี
ช่วงเข้าวัยรุ่น
เด็กหญิง > 8 ปี 8 – 10 เซนติเมตร/ปี
เด็กชาย > 9 ปี 10 – 12 เซนติเมตร/ปี

เด็กเตี้ย เกิดจากอะไร มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลกับการเจริญเติบโตของเด็ก

  • อย่างแรกคือ กรรมพันธุ์ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด
  • รวมถึงโภชนาการที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป
  • การนอนหลับที่เพียงพออย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง
  • การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
  • ความเจ็บป่วย โรคเรื้อรังที่ซ่อนเร้นอยู่และยาบางกลุ่ม เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์ ซึ่งถ้าได้รับปริมาณมากจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กได้เช่นกัน
  • สุดท้ายคือเรื่องของ ฮอร์โมน โดยเฉพาะฮอร์โมนบางชนิดที่มีผลต่อการเจริญเติบโต

เด็กเตี้ยกว่าเกณฑ์หรือไม่ พ่อแม่สังเกตอย่างไร

หากมีปริมาณน้อยเกินไปจะมีผลทำให้เด็กไม่เติบโตได้วิธีการสังเกตง่ายๆ ว่าลูกเติบโตช้า หรือไม่คือ

  • ลูกดูตัวเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับพี่น้องท้องเดียวกันเมื่ออายุเท่า ๆ กัน
  • ตัวเล็กกว่าเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน
  • มีอัตราการเจริญเติบโตลดลงโดยเปรียบเทียบในกราฟการเจริญเติบโตหรือไม่เติบโตเลย
  • ส่วนสูงอยู่ต่ำกว่าเส้นล่างสุดของกราฟการเจริญเติบโต ตามเพศและอายุของเด็ก

การประเมินเด็กที่มีรูปร่างเตี้ย กุมารแพทย์จะประเมินดูอัตราการเจริญเติบโต และเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบโต

หากสงสัยว่ามีความก็จะแนะนำให้รับการตรวจเพิ่มเติมจากกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อต่อไป ข้อมูลหลัก ๆ ที่แพทย์จะนำมาใช้ประเมินเด็กว่ามีรูปร่างเตี้ยหรือไม่คือ

  1. ประวัติของเด็กและครอบครัว ได้แก่ ประวัติการตั้งครรภ์ การคลอด น้ำหนักและความยาวแรกเกิด ประวัติการเจ็บป่วย อาหารที่ได้รับ พัฒนาการของเด็ก ความสูงและการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวของบิดามารดา และพี่น้อง
  2. การตรวจร่างกาย โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงหรือความยาวในเด็กเล็ก วัดความยาวของส่วนแขน ขา และเส้นรอบศีรษะ และบันทึกในกราฟเพื่อดูรูปแบบการเจริญเติบโตของเด็ก การตรวจร่างกายระบบอื่น ๆ เพื่อหาความผิดปกติที่พบร่วมกัน
  3. การตรวจอายุกระดูก โดยการเอกซเรย์ฝ่ามือและข้อมือ เพื่อประเมินดูการเจริญเติบโตของกระดูก
  4. การตรวจอื่น ๆ ทางห้องปฏิบัติการ จะทำในเด็กที่สงสัยว่าจะมีความผิดปกติของฮอร์โมน

อาหารกับการเจริญเติบโตของเด็ก

การเลือกกินอาหารที่เหมาะสม มีความสำคัญ ต่อเจริญเติบโต และยังช่วยให้เด็ก ๆ มีสุขภาพดีและไม่อ้วน ลักษณะอาหารที่ควรให้เด็ก ๆ ได้ทานคือ

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ คือ ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์และนม ไขมัน ผักและผลไม้ อย่างสมดุล
  • ดื่มนมวันละ 2-3 แก้วเพื่อให้ได้แคลเซียมเพียงพอ
  • ควรรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้เป็นประจำเพื่อให้ได้ใยอาหาร
  • รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเป็นประจำเช่น ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง ผักใบเขียว
  • ไม่ควรกินอาหารรสหวานจัดและอาหารประเภทน้ำตาลมาก
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มันมากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงน้ำอัดลมและของขบเคี้ยวเช่น ขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ

ภาวะตัวเตี้ยปกติ (normal variant short stature)

นอกจากภาวะเด็กโตช้าแล้ว ยังมีอีกภาวะหนึ่งที่เรียกว่า ภาวะตัวเตี้ยปกติ (normal variant short stature) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยไม่ได้มีโรคอะไรซ่อนเร้นอยู่ และไม่ต้องทำการรักษาใดๆ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องวิตกกังวล

ภาวะดังกล่าวคือ เตี้ยตามพันธุ์ (familial short stature) คือ เด็กที่ตัวเล็กสืบเนื่องจากบิดาและมารดาตัวเล็ก และ เตี้ยชนิด “ ม้าตีนปลาย” (constitutional delayed growth and puberty) เด็กกลุ่มนี้จะเตี้ยร่วมกับเข้าสู่วัยหนุ่มวัยสาวช้ากว่าเด็กทั่วไป มักได้ประวัติการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวช้าในบิดาและมารดาร่วมด้วย เช่น มารดามีประจำเดือนครั้งแรกอายุ 15 ปีสิ่งที่คุณพ่อ คุณแม่ควรทำคือ การหมั่นสังเกตุลูก ๆ ดูการเจริญเติบโต รวมถึงความเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น

หากพบความผิดปกติได้เร็ว ก็สามารถพามาพบและปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ไขและดูแล รักษาได้ทันท่วงทีโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?