ลูกกรี๊ด เอาแต่ใจ คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร

ลูกกรี๊ด เอาแต่ใจ คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร

Highlights:

  • เมื่อลูกกรี๊ด เด็กเอาแต่ใจ คุณพ่อ คุณแม่ควรต้องรีบหาสาเหตุว่าเกิดขึ้นจากปัจจัยใด
  • การแสดงออกทางพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น กรี๊ด ตีตนเอง ตีคนอื่น ทิ้งตัวลงไปนอนกับพื้น หรือ ปา ทำลายของ ต้องได้รับการดูแลกันอย่างไร
  • มีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้างเพื่อให้ลูกมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม

เมื่อลูกถูกขัดใจ และแสดงออกทางพฤติกรรม เช่น ลูกชอบกรี๊ด เด็กเอาแต่ใจ ตีตนเอง ตีคนอื่น ทิ้งตัวลงไปนอนกับพื้น หรือ ปา ทำลายของ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จึงควรช่วยกันแก้ไขให้ลูกมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม โดยอันดับแรก ต้องหาสาเหตุว่าลูกแสดงออกเช่นนี้ เพราะอะไร

สาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเช่นนี้

  1. เด็กยังไม่สามารถใช้การพูดเพื่อสื่อสาร บอกความต้องการได้ จึงแสดงออกด้วยท่าทางแทน
  2. เด็กไม่เข้าใจเหตุผล ว่าที่ถูกขัดใจ ไม่ทำตามใจเป็นเพราะอะไร
  3. เด็กเคยแสดงพฤติกรรม เช่นนี้แล้วได้สิ่งที่ต้องการ ได้รับตามใจ การปลอบ จึงทำซ้ำอีก

เด็กเอาแต่ใจ มีวิธีรับมืออย่างไร

  1. สอนให้เด็กพูดบอกความต้องการ อย่างสุภาพ จึงจะได้สิ่งที่ต้องการ หากเด็กพูดไม่คล่อง ก็ควรพูดเป็นตัวอย่าง ให้เด็กพูดตาม แล้วจึงให้สิ่งที่เด็กต้องการ
  2. อธิบายเหตุผลง่ายๆ ว่า ให้สิ่งนั้นไม่ได้เพราะอะไร
  3. หลังจากอธิบายเหตุผล ว่าทำหรือสิ่งนี้ไม่ได้ เพราะอะไร แต่มีสิ่งอื่นที่สามารถทำได้ หรือเล่นแทนได้ ทดแทน เป็นการเบียงเบนความสนใจ
  4. จัดสิ่งแวดล้อม ให้ไม่มีสิ่งที่กระตุ้นให้เด็กมีอามรณ์โกรธ เช่น หากเด็กอยากได้ของเล่น แล้วไม่สามารถให้ได้ ควรพาเด็กออกไปจากมุมของเล่นที่เด็กอยากได้ เพื่อลดสิ่งเร้าอารมณ์
  5. หากเด็กมีอารมณ์ ที่รุนแรง สอนเด็กให้รู้จักอารมณ์ตนเอง ว่า กำลังโกรธ/ เสียใจ ผู้ปกครองควรให้เวลาเด็ก โดยการเงียบ และนั่งใกล้ๆ และสอนให้เด็กใจเย็นๆ อาจสอนให้ นับ 1-10 เพื่อ ควบคุมอารมณ์ หรือ ชวนพูดคุยช้าๆ เพื่อให้ผ่อนคลายความโกรธ
  6. เมื่อเด็กอารมณ์เย็นลงแล้วให้ชวนทำกิจกรรมอื่นแทน ไม่ควรกลับไปพูดซ้ำเรื่องเดิม หรือให้ของเด็กเป็นรางวัล
  7. ทั้งนี้ ไม่ควรกอดปลอบ โอ๋เด็ก เพราะจะเป็นการให้รางวัลเด็กที่ทำพฤติกรรม ไม่เหมาะสม แต่สามารถนั่งใกล้ๆ จับตัว ลูบ หรือกอด เพื่อสอนให้ค่อยใจเย็นๆ ลง ได้

การปรับพฤติกรรมจะทำได้ผลดี เมื่อทุกคนในบ้าน มีแนวทางการปรับพฤติกรรมไปในทางเดียวกัน และมีความสม่ำเสมอ การฝึกวินัย ฝึกการให้ช่วยเหลือตนเอง ฝึกควบคุมอารมณ์เมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโตทางอารมณ์และสังคม เป็นพัฒนาการตามวัยที่ควรได้รับการฝึกตั้งแต่เด็ก และค่อยๆเพิ่มขึ้นตามวัย เพื่อให้เด็กจะได้เติบโต และอยู่ในสังคมภายภาคหน้าได้อย่างมีความสุขค่ะ

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?