ผ่าตัดฝีขอบทวารหนัก และ ฝีคัณฑสูตร ด้วยเทคนิค LIFTS

ผ่าตัดฝีขอบทวารหนัก และ ฝีคัณฑสูตร ด้วยเทคนิค LIFTS

HIGHLIGHTS:

  • หากมีอาการปวดหน่วงในทวารหนักหลายวัน ปวดทวารหนักมากผิดปกติ ขณะเบ่งหรือถ่ายอุจจาระ มีเลือดหรือหนอง ซึมออกมาจากแผลบริเวณก้น มีอาการคันรอบๆ ทวารหนัก หรือผิวหนังรอบๆ ทวารหนัก เกิดการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน ควรรีบมาพบแพทย์
  • โรคฝีบริเวณขอบทวารหนัก (Perianal abscess) หากไม่ยอมรักษาจนเป็นเรื้อรัง และอาจก่อให้เกิดฝีคัณฑสูตร (Fistula-in-ano) ตามมาได้
  • การผ่าตัดฝีคัณฑสูตรโดยใช้เทคนิคพิเศษ LIFTS ผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดจากโรคฝีคัณฑสูตรสูงถึง 97% หลังการผ่าตัดเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

โรคฝีบริเวณขอบทวารหนัก (Perianal abscess) เป็นการติดเชื้อมีหนองและมีโพรงฝีที่ช่องบริเวณรอบลำไส้ตรง และทวารหนัก ส่วนโรคฝีคัณฑสูตร (Fistula-in-ano) เป็นโรคที่มีท่อเชื่อมจากบริเวณรูทวารหนักต่อออกมายังผิวหนังใกล้กับรูทวารหนัก ทั้งนี้ โรคฝีบริเวณทวารหนักนั้น หากปล่อยไว้จนมีอาการเรื้อรัง อาจทำให้เกิดโรคฝีคัณฑสูตรได้ (ภาพที่ 1)

ผ่าตัดฝีขอบทวารหนัก และ ฝีคัณฑสูตร ด้วยเทคนิค LIFTS

จากภาพ

  • โรคฝีบริเวณขอบทวารหนัก (Perianal abscess) คือ จุด D (ส่วนจุดอื่นๆ เช่น A,B,C เป็นฝีแบบเดียวกัน แต่ไม่ได้เกิดตรงขอบทวารหนัก)
  • โรคฝีคัณฑสูตร (Fistula-in-ano) คือ บริเวณหมายเลข 1,2,3,4

อ้างอิง

สาเหตุของฝีบริเวณขอบทวารหนักและฝีคัณฑสูตร

บริเวณรูทวารหนักจะมีต่อมในช่องทวารหนัก (anal gland) อยู่ประมาณ 6-14 ต่อม เมื่อต่อมนี้มีการอักเสบติดเชื้อจากสาเหตุใดๆ ก็ตาม เช่น มีการเบ่งอุจจาระมาก ท้องผูก หรือ ท้องเสียบ่อยครั้ง รวมถึงการอุดตันจากเศษอุจจาระ หรือสิ่งแปลกปลอม จะทำให้กลายเป็นฝีบริเวณขอบทวารหนัก (Perianal abscess) ในที่สุด

หากรักษาฝีบริเวณทวารหนักล่าช้า (จุด D จากภาพ) ฝีอาจจะมีการแตกออกมาด้านนอกผิวหนัง ก็จะมีโอกาสที่ฝีบริเวณขอบทวารหนักกลายเป็นฝีคัณฑสูตรเรื้อรังตามมาได้ (จุด 1,2,3,4 จากภาพ) แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะรีบรักษาฝีบริเวณทวารหนักอย่างรวดเร็วแล้ว ก็ยังมีโอกาสเป็นฝีคัณฑสูตรเรื้อรังได้ถึง 10-50% ขึ้นกับสภาพร่างกายแต่ละบุคคล เนื่องจากกายวิภาคบริเวณทวารหนักมีความซับซ้อน จึงทำให้อาการของฝีบริเวณทวารหนัก และฝีคัณฑสูตรของผู้ป่วยแต่ละรายมีความแตกต่างกัน ดังนั้น หากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ ไม่ควรชะล่าใจ ควรรีบเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญลำไส้ใหญ่และทวารหนักแต่เนิ่นๆ จะเป็นการดีที่สุด

อาการผิดปกติที่ควรรีบมาพบแพทย์

  1. ปวดหน่วงในทวารหนักหลายวัน
  2. ปวดทวารหนักมากผิดปกติ ขณะเบ่ง หรือขับถ่ายอุจจาระ
  3. มีเลือดหรือหนอง ซึมออกมาจากแผลบริเวณก้น โดยมีอาการเป็นๆ หายๆ
  4. อาจมีอาการคันรอบๆ ทวารหนัก หรือผิวหนังรอบๆ ทวารหนัก เกิดการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน
  5. อาจมีไข้ หรือ ไม่ก็ได้

การวินิจฉัยโรคฝีบริเวณขอบทวารหนักและฝีคัณฑสูตร

ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญลำไส้ใหญ่และทวารหนักสามารถให้การวินิจฉัยโรคฝีบริเวณขอบทวารหนักและโรคฝีคัณฑสูตรได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด แต่ก็มีส่วนน้อย เช่น ผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดฝีคัณฑสูตรมาหลายครั้งแล้ว ที่อาจจำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมโดยใช้เครื่องมือพิเศษ เช่น อัลตราซาวด์บริเวณทวารหนัก (Endorectal ultrasound) หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging) ในการวินิจฉัยเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

ในส่วนของการวินิจฉัยและการรักษาฝีคัณฑสูตรนั้น แม้ศัลยแพทย์ทั่วไปจะสามารถทำหัตถการผ่าตัดรักษาฝีคัณฑสูตรได้ แต่หากต้องการได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมตรงจุดที่สุด ควรเลือกพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านลำไส้ใหญ่และทวารหนักโดยตรง เนื่องจากแพทย์เฉพาะทางจะผ่านประสบการณ์ผ่าตัดและเข้าใจลักษณะของโรคฝีคัณฑสูตรอย่างลึกซึ้งและครอบคลุมทุกด้าน จึงสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การรักษาโรคฝีบริเวณขอบทวารหนัก (Perianal abscess)

การรักษาโรคฝีบริเวณขอบทวารหนัก (Perianal abscess) แพทย์จะทำการกรีดระบายหนองในฝีออกมาในตำแหน่งที่ถูกต้องตามกายวิภาคศาสตร์ โดยจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อหูรูดทวารหนัก เพื่อหลีกเลี่ยงการกลั้นอุจจาระไม่อยู่ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ ควรทำการผ่าตัดโดยผู้ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เพื่อเพิ่มโอกาสการหายขาด ลดโอกาสการเกิดภาวะกลั้นอุจจาระไม่อยู่ และลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา

การรักษาโรคฝีคัณฑสูตร (Fistula-in-ano)

แต่ก่อนนั้น การผ่าตัดแบบดั้งเดิม แพทย์จะตัดหูรูดทวารหนักเล็กน้อยเพื่อเปิดทางให้หนองในฝีออกมาจนหมด แต่วิธีนี้จะมีผลข้างเคียงคือ คนไข้อาจประสบปัญหาเรื่องการกลั้นอุจจาระลำบากหลังการผ่าตัดได้

ปัจจุบันมีการรักษาวิธีใหม่ ที่เรียกว่า LIFTS (Ligation of Intersphincteric Fistula Tract Surgery) ซึ่งได้พัฒนาเทคนิคการผ่าตัดมาเพื่อลดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก และ เพิ่มอัตราการหายของโรค ให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากการผ่าตัดแบบเก่านั้นจะทำให้มีโอกาสหายแค่ประมาณ 30-60% เท่านั้น และยังทำให้มีโอกาสสูงที่จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก

ทั้งนี้ การผ่าตัดโดยเทคนิค LIFTS นี้ แพทย์จะใช้ไหมละลายทั้งหมด ผู้ป่วยจึงไม่จำเป็นต้องกลับมาให้แพทย์ตัดไหม อีกทั้งเมื่อกลับบ้านไปแล้ว ผู้ป่วยยังไม่ต้องแช่ก้นแบบที่เคยทำหลังการผ่าตัดแบบเก่าอีกด้วย รวมไปถึงอาการเจ็บแผลหลังผ่าตัดก็น้อยมาก ผู้ป่วยจึงสามารถลงเดินได้ตามปกติหลังจากการผ่าตัด 1-2 วันแรก

การแบ่งชนิดของ โรคฝีคัณฑสูตร (Fistula-in-ano)

มีความสำคัญต่อการเลือกการรักษา แบ่งเป็น 4 ชนิดดังนี้ตาม  Park classification (ภาพที่ 2)


อ้างอิง

  1. Intersphincteric fistula (บริเวณสีฟ้า) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เริ่มต้นจากการอักเสบที่ต่อมผลิตเมือก แล้วกลายเป็นฝีหนอง(abscess) ที่บริเวณ intersphincteric space (บริเวณที่อยู่ระหว่างกล้ามเนื้อหูรูดชั้นในและชั้นนอก) ซึ่งถ้าหนองเกิดลามลงล่างไปทางปากทวารหนัก ก็จะเกิดเป็น fistula ที่บริเวณใกล้ปากทวาร แพทย์อาจคลำได้หาได้ค่อนข้างง่าย
    โดยเทคนิคการผ่าตัดแบบ LIFTS (Ligation of Intersphincteric Fistula Tract Surgery) แพทย์จะทำการผูกและแยกท่อของฝีคัณฑสูตร (Fistula tract) ด้วยไหมละลาย  (ภาพที่ 3 ด้านล่าง ภาพ a คือก่อนทำ และ ภาพ b คือหลังทำ สังเกต ลูกศรที่ชี้หลังผูกและแยกท่อแล้ว)
  2. Transphincteric fistula (บริเวณสีเหลือง) พบบ่อยรองลงมา ชนิดนี้หนองจะเซาะผ่านทั้งกล้ามเนื้อหูรูดชั้นใน (internal sphincter) และ และกล้ามเนื้อหูรูดชั้นนอก (external sphincter) ก่อนจะแตกออกมาสู่ผิวหนังด้านนอก ฝีชนิดนี้จะทำการผ่าตัดได้ค่อนข้างยาก

  3. Suprasphincteric fistula (บริเวณสีเขียว) พบได้น้อย หนองจะเซาะตาม intersphincteric space ขึ้นสูงไปแล้วอ้อมลงมาแตกออกที่ผิวหนังด้านนอก

  4. Extrasphincteric fistula (บริเวณสีส้ม) เป็นชนิดที่พบได้น้อย หนองจะเซาะผ่านทั้งกล้ามเนื้อหูรูดชั้นใน (internal sphincter) และ และกล้ามเนื้อหูรูดชั้นนอก สูงขึ้นไปด้านบนแบบชนิดที่ 3 แล้วแตกเข้าสู่สำไส้ตรงด้านใน(rectum)

ประสบการณ์ของแพทย์ ในการผ่าตัดฝีคัณฑสูตร

รู้จักกับนายแพทย์ พรเทพ ประทานวณิช MD, FACS, FASMBS, FRCST

นายแพทย์พรเทพ ประทานวณิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการศัลยกรรมผ่าตัดผ่านกล้อง ผ่าตัดไส้เลื่อน ไส้ติ่ง ระบบทางเดินอาหารและช่องท้อง รวมถึงการศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และศัลยกรรมผ่าตัดผ่านกล้องลดความอ้วน

  • มีประสบการณ์การผ่าตัดผ่านกล้องมานานกว่า 10 ปี
  • ผ่าตัดผ่านกล้องในโรคไส้เลื่อนมามากกว่า 700 ราย
  • มีประสบการณ์การผ่าตัดผ่านกล้อง 3 มิติ และการใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดในประเทศสหรัฐอเมริกามามากกว่า 5 ปี
  • เป็นคณะกรรมการสมาคมผ่าตัดผ่านกล้องและสมาคมผ่าตัดไส้เลื่อนแห่งประเทศไทย
  • เป็นสมาชิกสมาคมศัลยกรรมผ่าตัดผ่านกล้องและผ่าตัดโรคอ้วนแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา

รวมถึงมีประสบการณ์การผ่าตัดริดสีดวงทวารหนัก, ฝีคัณฑสูตร, มะเร็งลำไส้ใหญ่, ผ่าตัดไส้เลื่อนผ่านกล้อง, ไส้ติ่ง และอื่นๆ มากกว่า 1,000 ราย


วิดีโอคอลปรึกษาหมอออนไลน์ เรื่องอะไรได้บ้าง ? คลิกอ่านเพิ่มเติม

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?