ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ

ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ

การปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea) เป็นอาการที่พบได้เสมอ ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยมีการปวดท้องน้อยบีบ เริ่มตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือน ในปวดวันแรกของประจำเดือน แล้วค่อยปวดลดลง จากการเปลี่ยนแปลงของสารพรอสตราแกรนดิน อาการมักมีความรุนแรง และระยะเวลาการปวดใกล้เคียงกันในทุกรอบประจำเดือน ลักษณะนี้มักไม่มีการตรวจพบโรคแฝง แพทย์จะรักษาผู้ป่วยตามอาการ โดยการให้ยาแก้ปวดถ้าอาการนี้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ต้องหยุดงาน ยาที่ให้มักเป็นยาแก้ปวดทั่วไป ส่วนยาที่มักใช้กันบ่อย เช่น ponstand เป็นยาชะลอการสร้างสารพรอสต้าแกรนดิน บางรายมีการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดกิน ก็มักมีอาการดีขึ้น

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดรุนแรงมากขึ้นเรื่อย มีระยะเวลาการปวดมากขึ้นใช้ยาแล้วไม่สามารถลดการปวด ปวดมากจนเป็นลม มีอาการร่วมเช่น มีประจำเดือนมามากหรือนานขึ้น ปวดในตำแหน่งที่นอกเหนือจากหลังหรือท้องน้อย ปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ อาจบ่งถึงการมีโรคแฝงอยู่เช่น

  1. การอักเสบในอุ้งเชิงกราน (Pelvic inflammation)
  2. เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือช็อกโกแลตซีสต์
  3. ผังผืดในอุ้งเชิงกราน (Pelvic adhesion)
  4. เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri)

ซึ่งถ้าละเลยไม่ทำการตรวจอาจปล่อยให้โรคมีการลุกลาม มีผลต่อการรักษาที่ยากขึ้น หรือมีผลต่อการมีบุตร เช่นถ้าเป็นช็อกโกแลตซีสต์ อาจมีการแตก รั่ว หรือกลายเป็นเซลล์ผิดปกติ บางรายก็อาจไปทำให้ท่อนำไข่อุดตันได้

ดังนั้นเมื่อคุณผู้หญิงมีอาการปวดประจำเดือนที่เปลี่ยนแปลงไป ก็ควรมาตรวจเพื่อค้นหาโรคที่อาจแฝงอยู่ในระยะแรกเพื่อลดอาการทรมานจากการปวด การรักษาในระยะแรก ซึ่งจะมีผลการรักษาที่ดี สามารถใช้วิธีการรักษาด้วยเทคนิคที่มีผลข้างเคียงน้อย เช่น การผ่าตัดผ่านกล้อง Minimally Invasive Surgery (MIS) ซึ่งมีแผลเล็ก เจ็บน้อย ใช้เวลาพักฟื้นสั้น เพื่อผลการรักษาที่ดี

มักมีผู้ป่วยสงสัยเกี่ยวกับถุงน้ำรังไข่ (cyst) หมายถึงถุงที่มีของเหลวภายใน ซึ่งอาจเป็น น้ำใส มูกเหนียว เลือด ไขมัน หรืออาจปนกับของแข็งบางส่วน การตรวจพบขึ้นอยู่กับผู้ป่วย บางรายไม่มีอาการ เริ่มคลำก้อนได้จากในท้องเนื่องจากมีขนาดใหญ่ หรือ จากการตรวจพบจากการตรวจสุขภาพ บางรายอาจมีอาการอึดอัดแน่นท้อง ปัสสาวะบ่อย ท้องอืดจากการเบียดอวัยวะข้างเคียงได้แก่ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ บางรายมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ถุงน้ำแตก รั่ว บิดขั้ว ทำให้มีอาการปวดท้องเฉียบพลัน เกิดการระคายเคืองช่องท้องจากน้ำภายในกระจายในเยื่อบุช่องท้อง

ถุงน้ำรังไข่มีหลายชนิด ในวัยเด็กก่อนมีประจำเดือน มักเป็นชนิดเกิดจากเนื้องอก มีผม ขน ไขมัน หรือแม้แต่กระดูกภายในชื่อ dermoid cyst มักเป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง เมื่อเริ่มเข้าวัยเจริญพันธุ์ก็จะมีการพบการเปลี่ยนแปลงของถุงไข่ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามระยะของรอบประจำเดือนเพื่อสร้างฮอร์โมน ทำให้พบถุงน้ำจากการตรวจเมื่อมีการตกไข่และหายไปหลังหมดรอบประจำเดือนถ้ามีการตรวจพบถุงน้ำขนาดไม่ใหญ่มากเกิน 5 เซ็นติเมตร ไม่มีเนื้อตันภายใน

ดังนั้นถ้าพบถุงน้ำในวัยหมดประจำเดือนมักต้องสงสัยว่าเป็นถุงน้ำที่ไม่ใช่จากถุงรังไข่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีเนื้อตันภายใน มีสองข้าง มีน้ำในช่องท้อง หรือ ถุงน้ำที่มีการเติบโตเร็ว ก็ควรสงสัยว่าไม่ใช่ถุงน้ำปกติ บางรายก็อาจมีถุงที่เกิดจากเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่จึงมีเลือดประจำเดือนเก่าภายในที่รู้จักในชื่อช็อคโกแลตซีสต์ (endometriotic cyst) อาจมีการตรวจเลือดเพื่อช่วยการวินิจฉัยโรค เช่น CA 125 Ca19-9 CEA ไม่ว่าอย่างไรการที่จะได้รับการวินิจฉัยจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อทราบชนิดของถุงน้ำ โดยการผ่าตัดก็จะมีสองวิธี คือการผ่าตัดใหญ่ และการผ่าตัดผ่านกล้อง Minimally Invasive Surgery (MIS) ขึ้นกับความต้องการของผู้ป่วย และข้อจำกัดด้านเทคนิค เช่น ขนาด การยึดติดกับอวัยวะข้างเคียง และความชำนาญของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด

คำถาม

*โปรดระบุ

ชื่อ*
ชื่อ*
นามสกุล*
นามสกุล*
Question*
Question*
อีเมล*
อีเมล*
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?