ท้องผูกเป็นภาวะที่พบได้บ่อยโดยพบประมาณร้อยละ 10 ของประชากรทั่วไป และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2 เท่า อาการท้องผูกในแต่ละบุคคลอาจมีความหมายแตกต่างกันไป
บางคนมาด้วยถ่ายอุจจาระยากต้องเบ่ง ถ่ายแข็ง หรือบางคนมาด้วยอาการนานๆ ถ่ายครั้งหนึ่ง
และบางคนอาจมีอาการของลำไส้แปรปรวน ได้แก่ อาการปวดท้อง ท้องอืดร่วมด้วยกับอาการท้องผูกได้
สาเหตุของอาการท้องผูกมีมากมาย แต่อาจสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ แบบปฐมภูมิที่มักเกิดจากสรีรวิทยาการขับถ่ายที่เปลี่ยนไป และแบบทุติยภูมิที่มีสาเหตุจากปัจจัยบางอย่าง เช่น
โดยทั่วไปอาการท้องผูกมักเป็นภาวะที่สามารถรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการใช้ยาระบายเบื้องต้นดูก่อนได้ อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยมีอาการท้องผูกร่วมกับอาการเตือน ได้แก่
ในกรณีนี้ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาถึงความน่าจะเป็นที่ผู้ป่วยอาจจะมีโอกาสพบโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ร่วมด้วย
ในทางปฏิบัตินั้นการรักษาเบื้องต้นของภาวะท้องผูกนั้นสามารถทำได้โดยการปรับปลี่ยนพฤติกรรมเบื้องต้น ได้แก่ การปรับเพิ่มอาหารที่มีกากใย การดื่มน้ำในปริมาณที่มากขึ้น การออกกำลังกายตลอดจนพฤติกรรมการนั่งขับถ่าย และการใช้ยาระบายเบื้องต้น
หากผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังที่ได้รับการหาสาเหตุทั่วไปและการรักษาเบื้องต้นดังกล่าวแล้วยังไม่ตอบสนองต่อการรักษา สาเหตุที่อาจพบได้และพบได้บ่อยถึงร้อยละ 30 ของท้องผูกแบบปฐมภูมิ คือ ภาวะการเบ่งถ่ายที่ผิดวิธี กล่าวคือมีผู้ป่วยหลายคนที่ขมิบ หรือไม่ยอมคลายหูรูดทวารหนัก ระหว่างการเบ่งถ่าย ทำให้ไม่สามารถเบ่งอุจจาระออกมาได้ เราเรียกภาวะนี้ว่า dyssynergia
ซึ่งมีโรงพยาบาลเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่มีเครื่องมือ anorectal manometry ที่สามารถวินิจฉัยภาวะนี้ได้ ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยภาวะ dyssynergia แล้ว การรักษาหลักที่ได้ผลจะไม่ใช่การให้ยาระบายแต่จะเป็นการฝึกกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเบ่งถ่ายให้ทำงานถูกต้องและสามารถให้ผลดีได้ในระยะยาว ซึ่งวิธีการฝึกดังกล่าวเราเรียกว่า biofeedback
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่