ศูนย์ศัลยกรรมโรคสมองและระบบประสาทในเด็ก

ชั้น 2 ทุกวัน เวลา 07:00 - 18:00 น. 66 (0) 2378-9110-1 info@samitivej.co.th

วินิจฉัย รักษา อาการทางโรคสมอง และระบบประสาทในเด็ก

โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชให้บริการตรวจและการรักษาเด็กทารกแรกเกิดถึงอายุ 15 ปีที่มีความผิดปกติด้านระบบประสาท โดยทีมกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท แพทย์ทางพันธุกรรม ศัลยแพทย์ด้านสมองและประสาทไขสันหลังในเด็ก กุมารแพทย์และทีมผู้เชี่ยวชาญสาขาที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติต่างๆ รวมถึงทีมงานวิสัญญีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของเราที่พร้อมช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผ่าตัดรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ทีมพยาบาลในแผนกผู้ป่วยนอก แผนกการดูแลทารกแรกเกิดวิกฤต (Neonatal Intensive Care Unit NICU) และแผนกการดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤต (Pediatric Intensive Care Unit PICU) ผู้มีประสบการณ์สูงและได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เพื่อการดูแลรักษาลูกน้อยของคุณโดยเฉพาะ ลูกน้อยของคุณจะได้รับการตรวจอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุของอาการ ก่อนที่ผู้เชี่ยวชาญของเราจะตัดสินใจเลือกขั้นตอนการรักษาที่ดีที่สุดเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยของคุณ

  • การรักษาและการดูแลอาการเจ็บป่วยจากความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง โรคสมองอักเสบ โรคลมชัก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เลือดออกในสมอง ฝีในสมอง หนองในช่องเยื่อหุ้มสมอง เนื้องอกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ เนื้องอกในสมอง สมองพิการ และไขสันหลังผิดปกติ และโรคกะโหลกศีรษะเชื่อมติดก่อนกำหนด เป็นต้น
  • การวินิจฉัยโรคด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กและรังสีวิทยาชั้นนำ อาทิ EEG, EMG, CT Scans, MRI, MRA, MRV รวมถึงการตรวจหลอดเลือดสมองสำหรับเด็กซึ่งจะช่วยให้การวางแผนการรักษานั้นกิดความแม่นยำและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
  • ผ่าตัดสมอง และไขสันหลังสำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 18 ปี โดยศัลยแพทย์ระบบประสาทผู้เชี่ยวชาญ ทั้งระบบไขสันหลัง ระบบสมองและกะโหลกศรีษะ (Laminectomy, Craniotomy and Craniectomy)
  • การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำหล่อเลี้ยงไขสันหลังส่วนเกิน Shunt surgery (VP Shunt, VA shunt, Cysto-pleural shunt, Syringo-Pleural shunt) ในผู้ป่วยภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus)

REAL CLEAN MEANS

คำแนะนำหลังการรักษา

อาการและโรคทางสมอง

ภาวะน้ำคั่งในสมอง Hydrocephalus

  • ภาวะน้ำคั่งในสมอง เป็นภาวะร้ายแรงที่โพรงสมองและไขสันหลังมีการสร้างน้ำหล่อเลี้ยง (Cerebrospinal Fluid- CSF) มากเกินไป และถ้าหากร่างกายเกิดปัญหาการดูดซึมหรือเกิดอาการอุดตันการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงนี้ จะทำให้มีน้ำส่วนเกินนี้สะสมในโพรงสมอง ยิ่งมามากขึ้นโพรงสมองก็จะขยายใหญ่ขึ้นทำให้เกิดแรงดันในสมองมากมากขึ้นจนกลายเป็นภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ
  • ภาวะน้ำคั่งในสมอง มี 2 ชนิด คือ ไม่มีการอุดตันของการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยง (Communicating hydrocephalus) และมีการอุดตันของการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยง (Non-communicating hydrocephalus) โดยภาวะโพรงสมองที่ไม่มีการอุดตันของการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงนี้ เพราะน้ำหล่อเลี้ยงยังคงสามารถไหลเวียนไปมาได้ แต่จะไม่สามารถถูกดูดซึมหรือถูกระบายออกไปได้ ในขณะที่การไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงในภาวะโพรงสมองที่มีการอุดตัน (Non-communicating hydrocephalus หรือ Obstructive hydrocephalus) จะถูกบล็อกในช่องทางการไหลเวียนบางช่องหรือหลายๆ ช่อง ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยๆ คือ “ท่อระบายน้ำตีบ” (Aqueductal stenosis) หมายถึงท่อระบายน้ำหล่อเลี้ยงในสมองส่วนกลางแคบลง

ภาวะน้ำคั่งในสมองบางชนิดเป็นกรรมพันธุ์ คือ ติดตัวผู้ป่วยมาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติระหว่างพัฒนาการของทารกในครรภ์ หรือความผิดปกติทางพันธุกรรม โดยภาวะโพรงสมองคั่งน้ำนี้สามารถออกอาการได้กับทุกคนไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตาม นอกจากนี้การบาดเจ็บหรือโรคบางโรคอาจเป็นสาเหตุของภาวะโพรงสมองคั่งน้ำได้อีกด้วย ในบางรายผู้ป่วยอาจมีภาวะโพรงสมองคั่งน้ำตั้งแต่เด็ก แต่ไม่ปรากฏอาการจนกระทั้งโตเป็นผู้ใหญ่ แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเกิดจากการตีบของท่อระบายน้ำหล่อเลี้ยง

การรักษาภาวะน้ำคั่งในสมอง เมื่อแพทย์สงสัยว่าคนไข้จะมีภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ แพทย์จะทำการตรวจอย่างละเอียดเพื่อให้มั่นใจว่าการวินิจฉัยถูกต้อง และยืนยันความเหมาะสมในการรักษาด้วยการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำ (shunt)

การวินิจฉัยโรคแบ่งเป็น 3 ลักษณะ

  • การสัมภาษณ์ซักประวัติและการตรวจร่างกายหรือระบบประสาท
  • การตรวจหาโพรงในสมองโดยรังสีวิทยา
    • ตรวจโดยคลื่นแม่เหล็ก (MRI)
    • ตรวจโดยเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ CT หรือ CAT Scan
  • ทดสอบเพื่อหาภาวะของน้ำไขกระดูกสันหลัง (Cerebrospinal Fluid หรือ CSF) เพื่อดูการตอบสนองต่อการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำ
  • ท่อระบายน้ำในกระดูกไขสันหลัง
    • วัดแรงต้านทานในการไหลเวียนออกของน้ำในกระดูกไขสันหลัง
    • วัดปริมาตรน้ำในกระดูกไขสันหลัง

การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำเป็นทางเดียวเท่านั้นในการรักษาภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ โดยท่อระบายน้ำจะถูกสอดเข้าไปในโพรงสมองเพื่อระบายออกไปยังอวัยวะส่วนอื่นในร่างกายที่สามารถดุดน้ำออกไปได้

ท่อระบายน้ำคั่งในโพรงสมองประกอบด้วย

  • สายสวนโพรงสมอง
  • วาล์วสำหรับควบคุมการไหลเวียนของน้ำในไขกระดูกสันหลัง
  • สายระบายน้ำในไขกระดูกสันหลังไปยังอวัยวะอื่นในร่างกาย

ระบบสายท่อระบายน้ำจะถูกซ่อนไว้อย่างดีภายใต้ผิวหนังอย่างมิดชิด ไม่ได้ห้อยอยู่ด้านนอกของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีทางเลือกให้กับผู้ป่วยบางรายด้วยการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องในโพรงสมอง เพื่อสร้างช่องระบายน้ำภายใน

ในการผ่าตัดนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสอดกล้องขนาดจิ๋วที่ทำด้วยเทคโนโลยีไฟเบอร์ออปติก (fiber optic) เพื่อเข้าถึงส่วนที่ยากแก่การเข้าถึงในสมอง ทำให้แพทย์สามารถเห็นโพรงในสมองได้ และเมื่อได้ตำแหน่งแล้วแพทย์จะทำการเจาะรูเล็กๆ ที่พื้นของโพรงในสมองเพื่อระบายน้ำไปที่รอบๆ ผิวของสมองเพื่อหลีกเลี่ยงการอุกตัน

การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำ (shunt) เหมาะกับผู้ป่วยเด็กทุกคนหรือไม่?

ปัจจัยในการรักษามีหลากหลายรูปแบบในการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยท่านใดเหมาะกับการรักษาโดยการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำ ผลของการใส่สายระบายน้ำจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้

  • ระเวลาที่ออกอาการ
  • ขนาดของโพรงที่เห็นจากการสแกนนั้นใหญ่กว่า CFS ในชั้นใต้เยื่อหุ้มสมอง
  • ค่าแรงต้านทานการไหลออกของน้ำในไขกระดูกสันหลังที่สูงขึ้นหรือความผิดปกติของความดันในไขกระดูกสันหลัง

ถึงแม้ผู้ป่วยภาวะโพรงสมองคั่งน้ำจะไม่สามารถหายเป็นปกติได้อย่างสมบูรณ์ แต่ผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วยจะรู้สึกได้ว่าการรักษาเป็นผลสำเร็จ 100% หากการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นโดยช่วยลดความผิดปกติของร่างกาย หรือทำให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น ก่อนที่ระบบประสาทจะถูกทำลายจนไม่สามารถแก้ไขได้

ตามปกติแล้วการรักษาภาวะโพรงสมองคั่งน้ำจะทำการรักษาโดยการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำ ซึ่งจะช่วยระบายน้ำไขสันหลังจากโพรงในช่องสมองของลูกน้อยไปยังส่วนอื่นของร่างกายที่สามารถดูดซึมออกไปได้

เป้าหมายของการรักษาด้วยการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำ คือการลดความดันในสมองจากความผิดปกติของการผลิตน้ำหล่อเลี้ยงสมองของลูกน้อย โดยปกติแล้วน้ำหล่อเลี่ยงสมองจะถูกระบายผ่านท่อเข้าไปในช่องท้อง (Ventriculoperitoneal shunt, VP shunt) บางกรณีท่อระบายน้ำนี้จะถูกระบายไปยังปอด หรือ หัวใจห้องบน (Atrium)

คำแนะนำสำหรับคุณพ่อและคุณแม่

อาการของน้ำคั่งในสมองแตกต่างกันไปตามการเจริญเติบโตของเด็ก หากทารกมีภาวะนี้ขณะอยู่ในครรภ์แม่ เมื่อแพทย์ทำอัลตร้าซาวด์จะพบโพรงหรือ ช่องว่างในสมองของเด็ก เมื่อคลอดแล้วอาการของโพรงสมองคั่งน้ำที่เห็นได้ชัดคือ การขยายตัวที่ผิดปกติของศีรษะของทารก เมื่อโตขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการเกี่ยวข้องกับความดันของน้ำในโพรงสมองสูง อาทิ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัวและปัญหาเรื่องสายตา

ผู้ป่วยในวัยหนุ่มสาว หรือ วัยกลางคน มักมีอาการวิงเวียนศีรษะ และมีปัญหาสายตา ผู้สูงอายุที่เป็นภาวะโพรงสมองคั่งน้ำที่มีความดันในสมองปกติ (Normal Pressure Hydrocephalus, NPH) อาการที่เห็นส่วนใหญ่จะเป็นการสูญเสียการควบคุมการทำงานของร่างกาย 3 ด้านคือ การทรงตัวขณะเดิน ความคิดสับสน และกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

อาการในทารกและเด็กเล็ก

  • ศีรษะใหญ่ขึ้น
  • กะโหลกแถวกระหม่อมตึง หรือปูดขึ้นมา
  • มองเห็นเส้นเลือดที่หนังศีรษะชัดเจน
  • รอยต่อระหว่างกระดูกกะโหลกศีรษะดูแยกออกจากกัน
  • อาเจียน งุ่นง่าน หงุดหงิด
  • ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน มีปัญหาสายตา
  • ลูกตามองลงล่างตลอดเวลา หรือตาเข

อาการในเด็กวัยรุ่น

  • ปวดหัวเรื้อรัง
  • มีปัญหาในการเดินและการทรงตัว
  • มีปัญหาในการจำ การคิด และการใช้เหตุผล หรือ ชอบบ่น
  • ปัสสาวะบ่อย หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้

คำแนะนำหลังการรักษา

คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญในการพาลูกน้อยไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ทุกครั้งที่คุณพาลูกน้อยมาตรวจพัฒนาการต่างๆ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำตัวที่สมิติเวช ลูกน้อยของคุณจะได้รับการตรวจตามขั้นตอนนี้ด้วย

  • การเจริญเติบโตของร่างกายโดยรวม และขนาดศีรษะตลอดจนอัตราการเติบโตของศีรษะ
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการบีบตัวของกล้ามเนื้อ
  • ท่าทาง ([posture)
  • พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
  • พัฒนาการด้านสหสัมพันธ์ (coordination)
  • ประสาทสัมผัส – การได้ยิน การมองเห็น และการสัมผัส

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ (Team of Specialists)

นพ. ภาณุ นาจรุง – ศัลยแพทย์ สาขาประสาทศัลยศาสตร์

คุณวุฒิทางการศึกษา

  • แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปี พ.ศ.2541
  • วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาประสาทศัลยศาสตร์ ปี พ.ศ.2546 / วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กองทัพอากาศไทย ปี พ.ศ.2546
  • Certificate of Pediatric Neurosurgery, Taipei Veterans General Hospital, Taiwan 2009
  • Certificate of The Asian Australasian Advanced Course in Paediatric Neurosurgery (AAACPN) Singapore, Taiwan, India: 2007, 2008, 2009
  • เชี่ยวชาญด้าน ศัลยกรรมเนื้องอกในเด็ก และ ศัลยกรรมระบบประสาทในเด็ก

พญ. นันทาศิริ วิทยนคร – ศัลยแพทย์ สาขาประสาทศัลยศาสตร์

คุณวุฒิทางการศึกษา

  • แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาประสาทศัลยศาสตร์ ปี พ.ศ.2555
  • Fellowship in Pediatric Neurosurgery, Division of Pediatric Neurosurgery, The Royal Children Hospital, Melbourne 2016

นพ. สมจิต ศรีอุดมขจร – กุมารแพทย์ สาขาประสาทวิทยา

คุณวุฒิทางการศึกษา

  • แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2532
  • วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ปี พ.ศ. 2538
  • เชี่ยวชาญด้าน กุมารแพทย์ และ ระบบประสาทและสมองในเด็ก
  • Fellow in Pediatric Epilepsy, Austin Repatriation Medical Center, Melbourne

พญ. นวรัตน์ รุ่งธีรานนท์ – กุมารแพทย์ สาขาประสาทวิทยา

คุณวุฒิทางการศึกษา

  • แพทยศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2543
  • วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2551 และ 2553
  • เชี่ยวชาญด้าน กุมารแพทย์ และ ระบบประสาทและสมองในเด็ก

พญ. อาภาศรี ลุสวัสดิ์

คุณวุฒิทางการศึกษา

  • แพทยศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วุฒิบัตรด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์
  • ใบรับรองด้านศัลยประสาท ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์และสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย