ไบโพลาร์ (Bipolar) น่ากลัวกว่าที่คิด

ไบโพลาร์ (Bipolar) น่ากลัวกว่าที่คิด

HIGHLIGHTS:

  • โรคอารมณ์สองขั้ว เมื่ออารณ์ดีก็จะดีจนถึงที่สุด และเมื่ออารมณ์ตกก็ตกจนสุดขั้วอีกด้านหนึ่ง บางรายอาจมีอาการอื่นๆ เช่น ซื้อของเก่ง เล่นพนันแบบขาดสติ คนไข้อาจขาดการยั้งคิดทำให้เกิดและอาจทำร้ายตัวเองในที่สุด
  • ความต่างคือ โรคไบโพลาร์มีช่วงที่อารมณ์ขึ้นและอารมณ์ตก ส่วนโรคซึมเศร้ามีแต่ช่วงที่ตกอย่างเดียว ซึ่งช่วงเวลาที่คนไข้ไบโพลาร์อารมณ์ตกก็จะตกเหมือนกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า แต่จะกลับมาอารมณ์ดีมากๆ อีกครั้ง

ไบโพลาร์ (Bipolar) น่ากลัวกว่าที่คิด

เราได้ยินชื่อโรคไบโพลาร์ หรืออารมณ์สองขั้วเมื่อไม่นานมานี้ และได้ยินบ่อยขึ้นเรื่อยๆ โดยอาการของโรคไบโพลาร์มักเริ่มในอายุน้อย คือช่วง 20 ปีเท่านั้น ซึ่งคนไข้มักไม่รู้ตัวเองว่าป่วย แต่มีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ อารมณ์ดีและร้ายอย่างเห็นได้ชัด จนส่วนใหญ่ญาติต้องเป็นผู้พามาพบแพทย์

โรคอารมณ์สองขั้ว ชื่อก็บอกถึงอาการอย่างชัดเจนว่า ผู้ป่วยเป็นผู้มีอารมณ์แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว เมื่ออารณ์ดีก็จะดีจนถึงที่สุด และเมื่ออารมณ์ตกก็ตกจนสุดขั้วอีกด้านหนึ่ง ในผู้ป่วยไบโพลาร์บางรายอาจมีอาการอื่นๆ ตามมา โดยอาจพูดจาเร็วขึ้นจนฟังไม่ทัน หรือมีปัญหาเรื่องของการใช้จ่ายตามมา เช่น ซื้อของเก่ง เล่นพนันแบบขาดสติ หรือการลงทุนที่เสี่ยงมาก จนเป็นหนี้สิน หรือแม้กระทั่งมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงมากเกินไป คนไข้อาจตัดสินใจโดยขาดการยั้งคิดทำให้เกิดผลเสียตามมามากมายและอาจทำร้ายตัวเองในที่สุด

ทั้งนี้ ในบางรายยังอาจขยันทำงานมากขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ หรืออยู่ๆ ก็ลุกขึ้นมาทำงานหลายๆ ชิ้นในเวลาเดียวกัน ปัญหาที่ตามมาก็คือไม่สามารถทำงานเสร็จสักชิ้น เดียวหรืองานออกมาไม่ดีพอ แต่ถึงอย่างไรก็ตามคนที่ทำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไบโพลาร์เสมอไป การวินิจฉัยโรคทางจิตเวชต้องใช้หลายอาการร่วมกัน

ไบโพลาร์ VS ซึมเศร้า

ความต่างระหว่างโรคซึมเศร้ากับ โรคไบโพลาร์คือ โรคไบโพลาร์มีช่วงที่อารมณ์ขึ้นและอารมณ์ตก ส่วนโรคซึมเศร้ามีแต่ช่วงที่ตกอย่างเดียว ซึ่งช่วงเวลาที่คนไข้ไบโพลาร์อารมณ์ตกก็จะตกเหมือนกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า แต่จากนั้นไม่นานก็จะกลับมาอารมณ์ดีมากๆ อีกครั้ง มีบ้างเหมือนกันที่คนไข้บางคนอาจมีแต่ช่วงที่อารมณ์ขึ้น ไม่มีช่วงตกเลย แต่ก็จะวินิจฉัยว่าเป็นไบโพลาร์เหมือนกัน

การรักษา

แพทย์เน้นการใช้ยาเป็นหลัก ร่วมกับทำจิตบำบัด ซึ่งผู้ป่วยระยะแรกจะต้องกินยาต่อเนื่องและขาดยาไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนไข้ต้องกินยาไปตลอดชีวิต แพทย์จะเป็นผู้คอยดูแลและแนะนำจนกว่าเห็นควรหยุดยา แต่หากคนไข้เกิดเป็นซ้ำถึง 3 ครั้ง แพทย์มักแนะนำให้กินยาตลอดชีวิต
สำหรับญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย ควรดูแลให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นอารมณ์ เช่น แอลกอฮอล์ สารเสพติดต่าง ๆ อย่างเด็ดขาด และอาจตรวจสอบยอดบัตรเครดิตด้วยว่าสูงขึ้นผิดปกติหรือไม่

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?