โรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น

HIGHLIGHTS:

  • สมาธิสั้น Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder (ADHD) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง ลักษณะอาการที่สังเกตุง่าย อาทิ ขาดสมาธิ วู่วาม หุนหันพลันแล่น มีอาการซน อยู่ไม่นิ่ง ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลกระทบต่อการเรียน การทำงานและการเข้าสังคม เด็กบางคนมีอาการซนและหุนหันพลันแล่นเป็นอาการเด่น แต่บางคนมีอาการขาดสมาธิเป็นอาการเด่น

โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder-ADHD)

โรคสมาธิสั้น คือ กลุ่มอาการที่ประกอบด้วยการขาดสมาธิ  ควบคุมตนเองต่ำ  และซุกซน อยู่ไม่นิ่ง อาการเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนอายุ 7 ขวบ ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการปรับตัวเข้าสังคม อาการของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน บางรายมีอาการซน อยู่ไม่นิ่ง และ ควบคุมตนเองต่ำเป็นอาการหลัก  บางคนอาจจะมีอาการขาดสมาธิเป็นปัญหาหลัก พบทั่วโลก ในประเทศไทยพบ 3-5% ของเด็กในวัยเรียน

อาการ สมาธิสั้น ในเด็ก

ก. การขาดสมาธิ พบว่าเด็กจะ

  1. ไม่สามารถทำงานที่ครูหรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ
  2. ไม่มีสมาธิในขณะทำงานหรือเล่น
  3. ดูเหมือนไม่ค่อยฟัง เวลาพูดด้วย
  4. ไม่ตั้งใจฟังได้ไม่นาน และเก็บรายละเอียดได้น้อย ทำให้ทำงานผิดพลาดบ่อย
  5. ไม่เป็นระเบียบ
  6. มันหลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความคิดหรือสมาธิ
  7. วอกแวกบ่อย
  8. ทำของใช้ส่วนตัวหรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับงานหรือการเรียนหาย
  9. ขี้ลืม

ข. อาการซุกซน อยู่ไม่นิ่ง และควบคุมตนเองต่ำ  จะมีลักษณะ ดังนี้

  1. ยุกยิก อยู่ไม่นิ่ง
  2. นั่งไม่ติดที่ ลุกเดินบ่อยๆ ขณะอยู่ที่บ้านหรือในห้องเรียน
  3. ชอบวิ่ง หรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ
  4. พูดมาก พูดไม่หยุด
  5. เล่นเสียงดัง
  6. ตื่นตัวตลอดเวลา หรือดูตื่นเต้นง่าย
  7. ชองโพล่งคำตอบเวลาครูหรือพ่อแม่ถามโดยที่ยังฟังคำถามไม่จบ
  8. รอคอยไม่เป็น
  9. ชอบขัดจังหวะหรือสอดแทรกเวลาผู้อื่นกำลังพูดอยู่

หากเด็กมีลักษณะในข้อ ก หรือ ข รวมกันมากกว่า 6 อาการ ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น

สาเหตุของโรคสมาธิสั้น

เกิดจากความบกพร่องของสารเคมีที่สำคัญบางตัวในสมอง  โดยมีกรรมพันธุ์เป็นปัจจัยที่สำคัญ  ปัจจัยจากการเลี้ยงดูหรือสิ่งแวดล้อมเป็นเพียงปัจจัยที่ทำให้อาการหรือความผิดปกติดีขึ้นหรือแย่ลง  มารดาที่ขาดสารอาหาร ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือถูกสารพิษบางชนิด เช่น ตะกั่ว ในระหว่างตั้งครรภ์ จะมีโอกาสมีลูกเป็นโรคสมาธิสั้นสูงขึ้น 30-40% ของเด็ก สมาธิสั้น จะพบความบกพร่องในทักษะการเรียน (learning Disorders) ร่วมด้วย

ไม่พบว่าการบริโภคน้ำตาลหรือช็อคโกแลตมากเกินไป การขาดวิตามิน สีผสมอาหาร โรคภูมิแพ้ การดูทีวีหรือเล่นวีดีโอเกมมากเกินไป เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น

การดำเนินโรค

ประมาณ 20-30% ของเด็กสมาธิสั้นมีโอกาสหายเมื่อเข้าวัยรุ่น เรียนหนังสือหรือทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ยา แต่ส่วนใหญ่ของเด็กสมาธิสั้นจะยังคงมีความบกพร่องของสมาธิอยู่  ดูเหมือนจะซนน้อยลง  ซึ่งจะเป็นผลต่อการศึกษาต่อการงาน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น  สมควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

การรักษา โรคสมาธิสั้นใจเด็ก

การรักษา ประกอบด้วย

  1. การให้ความรู้ในการดำเนินโรคและข้อจำกัดของเด็กแก่พ่อแม่และคุณครู
  2. การรักษาทางยา
  3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการช่วยเหลือทางด้านจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว
  4. การช่วยเหลือทางด้านการเรียน

ข้อแนะนำสำหรับครูในการช่วยเหลือเด็ก สมาธิสั้น

  1. จัดให้เด็กนั่งหน้าหรือใกล้ครูให้มากที่สุดในขณะสอน
  2. จัดให้เด็กนั่งให้ไกลจากประตู หน้าต่าง
  3. เขียนการบ้านหรืองานที่เด็กต้องทำในชั้นเรียนให้ชัดเจนบนกระดานดำ
  4. ตรวจสมุดจดงานของเด็กเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กจดงานได้ครบ
  5. อย่าสั่งงานให้เด็กทำ พร้อมกันทีเดียวหลายอย่าง ให้เด็กทำงานเสร็จทีละอย่าง ก่อนให้คำสั่งต่อไป
  6. คิดรูปแบบวิธีเตือนหรือเรียกให้เด็กกลับมาสนใจบทเรียนโดยไม่ให้เด็กเสียหน้า
  7. เพิ่มงานที่ใช้แรงสำหรับกลุ่มที่อยู่ไม่นิ่ง เช่น เพิ่มเวลาเล่นกีฬา มอบหมายหน้าที่ให้ลบกระดาน ช่วยครูแจกงาน ให้ทำกิจกรรมที่ใช้แรง ให้เป็นนักกีฬาวิ่งเร็ว เป็นต้น
  8. ชมหรือรางวัลเมื่อเด็กทำตัวดีหรือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ทันที
  9. หลีกเลี่ยงการตำหนิ ว่ากล่าวรุนแรง หรือทำให้อาย ขายหน้า หรือการลงโทษทางร่างการ(ตี)เมื่อเด็กทำผิด
  10. เมื่อเด็กทำผิดพลาด ควรใช้วิธีการตัดคะแนน งดเวลาพัก ทำเวร หรืออยู่ต่อหลังเลิกเรียน(เพื่อทำงานที่ค้างอยู่ให้เสร็จ)
  11. ให้เวลากับเด็กนานขึ้นกว่าเด็กปกติระหว่างการสอบ
สอบถามเพิ่มเติม

*โปรดระบุ

ชื่อ*
ชื่อ*
นามสกุล*
นามสกุล*
ประเภทคำถาม*
ประเภทคำถาม*
คำถามของคุณ*
คำถามของคุณ*
อีเมล*
อีเมล*
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?