โรคย้ำคิดย้ำทำ

โรคย้ำคิดย้ำทำ

HIGHLIGHTS:

  • โรคย้ำคิดย้ำทำ คือการทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ย้ำคิดกลัวว่าจะสกปรก ก็เลยจะย้ำทำบ่อยๆ ทางการแพทย์ถือว่าเป็นโรคประสาทหรือโรคเครียดชนิดหนึ่ง
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคที่ไม่เป็นอันตรายกับชีวิต แต่สร้างความรำคาญให้กับผู้ป่วยและคนใกล้ชิด
  • การรักษา “โรคย้ำคิดย้ำทำ” ทำได้ 2 ส่วนคือ การใช้ยาช่วยปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล  และทำจิตบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavior therapy ) ซึ่งเป็นการบำบัดที่เป็นสากล ซึ่งให้ผลการรักษาที่ดี

โรคย้ำคิดย้ำทำ

คงไม่ปฏิเสธว่าหลายๆ ครั้งที่เราต้องย้อนกลับไปดูว่าปิดแก๊ส ปิดไฟ หรือล็อกประตูบ้าน หรือยัง จนมักหยอกล้อกันว่าเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ

ในความเป็นจริงแล้ว โรคย้ำคิดย้ำทำก็คืออาการที่กล่าวมาแล้ว แต่เป็นมากเกินไป โรคย้ำคิดย้ำทำ คือการทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ย้ำคิดกลัวว่าจะสกปรก ก็เลยจะย้ำทำโดยการล้างมือบ่อยๆ กลัวโจรจะขึ้นบ้านเลยย้ำทำโดยการเช็กกลอนประตูบ่อย ๆ กลัวว่าไฟจะไหม้ก็เช็กสวิชท์ไฟหรือเตาแก๊ส โดยพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ เป็นมากเกินไปจนเสียเวลา เสียงานเสียการส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ทางการแพทย์ถือว่าเป็นโรคประสาทหรือโรคเครียดชนิดหนึ่ง

สาเหตุของโรคเกิดจากระดับสารเคมีในสมองไม่สมดุล ทำให้สมองทำงานผิดปกติ มีความวิตกกังวลมากจนมีพฤติกรรมซ้ำๆ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีคำอธิบายที่แน่ชัดว่าเกิดจากความเครียดก่อนแล้วส่งผลให้ระดับสารเคมีไม่สมดุล หรือสารเคมีในสมองไม่สมดุล จนเครียด กลายเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำในที่สุด

ส่วนอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดการทำซ้ำๆ จนคล้ายโรคย้ำคิดย้ำทำ แต่เนื่องจากผู้สูงอายุย้ำทำในสิ่งที่คิดบ่อยๆ นั้นเกิดจากการหลงลืมว่าได้ทำไปแล้ว ถือว่าไม่ใช่โรคย้ำคิดย้ำทำ แต่เกิดจากความจำที่แย่หรือเสื่อม

โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคที่ไม่เป็นอันตรายกับชีวิต แต่สร้างความรำคาญให้กับผู้ป่วยและคนใกล้ชิด มีผลเสียหลายอย่าง เช่น คนที่กำลังจะออกจากบ้าน ก็คอยเช็กประตู ไม่ได้เดินทางไปไหนสักที ทำให้เสียเวลา หรือว่าล้างมือบ่อย ๆ ทั้งวันเสียเวลากับการย้ำทำมากเกินไป อีกทั้งยังนำไปสู่ปัญหามือแห้งได้ หรือในคนไข้ที่กังวลกับอาการย้ำคิดย้ำทำของตนมากเกินไปจนเป็นความเครียด ส่งผลให้กลายเป็นโรคซึมเศร้า ท้อแท้ตามมา หรือแม้กระทั่งคนไข้บางรายสามารถทำใจมองอาการเป็นเรื่องปกติ ส่งผลให้ความเครียดลดน้อยลง และยอมรับในอาการที่เป็นอยู่ว่าเป็นนิสัยของตัวเอง แต่ผลเสียในการใช้ชีวิตอื่นๆ ก็คงมีอยู่ สุดท้ายโรคย้ำคิดย้ำทำก็ไม่เกิดผลดีทั้งนั้น

สำหรับการรักษา

สามารถทำได้ 2 ส่วนคือ การใช้ยาช่วยปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล ทำให้คนไข้มีอาการดีขึ้น และทำจิตบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavior therapy ) ซึ่งเป็นการบำบัดที่เป็นสากล เพื่อแก้ปัญหาปัจจุบันและเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่ไร้ประโยชน์ โดยเน้นปัญหาในปัจจุบัน ไม่ได้ค้นกลับไปยังปมที่มีมาตั้งแต่อดีต ซึ่งให้ผลการรักษาที่ดี

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?