คุณเสี่ยง ภาวะหัวใจวาย อยู่รึเปล่า

คุณเสี่ยง ภาวะหัวใจวาย อยู่รึเปล่า

HIGHLIGHTS:

  • หัวใจวาย ไม่ใช่หัวใจหยุดเต้น แต่เป็นภาวะที่หัวใจอ่อนแอ ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้
  • โรคความดัน เบาหวาน ไขมันสูง ไทรอยด์เป็นพิษ ล้วนเป็นเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้

คุณเสี่ยง ภาวะหัวใจวาย อยู่รึเปล่า

เมื่อพูดถึงภาวะหัวใจวาย หลายคนเข้าใจว่าคืออาการหัวใจหยุดเต้น แต่แท้จริงแล้ว ภาวะหัวใจวาย เป็นภาวะที่หัวใจอ่อนแอ ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้เพียงพอ ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวพื้นฐานที่ก่อให้เกิดภาวะหัวใจวายได้

สาเหตุภาวะหัวใจวาย

  1. สาเหตุจากหัวใจ
    • อาการช็อกและหมดสติกระทันหัน เนื่องจากเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งเป็นสาเหตุภาวะหัวใจวายที่พบบ่อยที่สุด
    • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ติดเชื้อ
    • โรคลิ้นหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว
    • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ
  2. ไม่ใช่สาเหตุจากหัวใจ
    • โรคอื่นๆ ที่สัมพันธ์ร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวานและโรคไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ทั้งสิ้น

อาการของผู้ที่เป็นภาวะหัวใจวาย

  1. อ่อนเพลีย หอบเหนื่อย
  2. ขาบวม
  3. แน่นหน้าอกตอนกลางคืน นอนราบไม่ได้ ลุกมาไอตอนกลางคืน
  4. ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว

การวินิจฉัยภาวะหัวใจวาย

  1. ซักประวัติคนไข้ ว่ามีอาการเหนื่อย นอนราบไม่ได้ หรือนอนแล้วต้องลุกขึ้นหายใจ และไอตอนกลางคืน รวมถึงมีอาการขาบวม หรือไม่
  2. ทำการตรวจร่างกาย
    • ตรวจเส้นเลือดที่คอว่าโป่ง หรือไม่
    • ตรวจเสียงหัวใจเต้นผิดจังหวะ
    • ตรวจภาวะน้ำท่วมปอด โดยฟังเสียงถ้ามีเสียง ก๊อบแก๊บ แสดงว่ามีน้ำในปอด
  3. ตรวจกราฟไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูว่า มีเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน หัวใจโต หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ จากนั้นทำการเอ็กซเรย์ปอด เพื่อดูฝ้าขาว และน้ำในปอด จากนั้นจะทำการตรวจเพิ่มเติมโดยการอัลตร้าซาวด์หัวใจ (echocardiography) เพื่อดูการบีบตัวของหัวใจ และตรวจดูว่ามีลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่วหรือไม่ ซึ่งการตรวจเหล่านี้จะทำให้ทราบสาเหตุที่ทำให้คนไข้มีภาวะหัวใจวาย
    แนวทางการรักษา

แนวทางการรักษา

  1. การรักษาด้วยการใช้ยา
    • ยากลุ่มที่ 1 ยาขับปัสสาวะ สำหรับคนไข้ที่มาด้วยอาการหอบ เหนื่อย เพื่อช่วยลดบวม ลดน้ำในปอด
    • ยากลุ่มที่ 2 ยากลุ่ม Beta blocker เป็นยาช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ ไม่ให้หัวใจทำงานหนักจนเกินไป
    • ยากลุ่มที่ 3 กลุ่มยาที่ช่วยบล็อคฮอร์โมนที่ไปทำลายหัวใจ
  2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
    • ไม่รับประทานเค็ม ดื่มน้ำให้น้อย งดแอลกอฮอล์ และหมั่นดูแลตัวเอง
  3. การฝังเครื่องมือเข้าไปที่หน้าอก โดยตัวสายจะอยู่ทางด้านซ้ายและขวาของหัวใจ เพื่อช่วยให้หัวใจสามารถบีบตัวได้ดีขึ้น ซึ่งภายในเครื่องจะมีเครื่องกระตุกหัวใจร่วมอยู่ด้วย เพื่อช่วยชีวิตคนไข้ภาวะหัวใจวายและมีโอกาสหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  4. หากได้รับการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น คนไข้อาจต้องอยู่ในรายชื่อ (Waiting list) เพื่อรอการทำปลูกถ่ายหัวใจใหม่ (Heart Transplant) แต่แพทย์ส่วนใหญ่มักแนะนำเป็นกรณีสุดท้าย เพราะการหาหัวใจใหม่เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก และเป็นการผ่าตัดที่มีความเสี่ยงสูง

การป้องกันเบื้องต้น

  • ตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ
  • สำรวจตนเองว่ามีอาการน่าสงสัย เช่น เหนื่อยง่าย ขาบวม แน่นหน้าอก และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยการออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงและรสเค็มจัด เลิกสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอดี
  • รักษาโรคที่เป็นสาเหตุภาวะหัวใจวาย เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และไทรอยด์เป็นพิษ

แม้ภาวะหัวใจวายนั้นน่ากลัวและสามารถคร่าชีวิตผู้ป่วยได้ แต่ภาวะหัวใจวายก็สามารถป้องกันและรักษาได้ หากทุกคนตระหนักและใส่ใจตัวเอง ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ รวมถึงเมื่อเกิดความผิดปกติกับร่างกายควรรีบพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและรักษาได้ทันท่วงที

คุณสามารถตรวจสอบความเสี่ยงด้วยตนเองได้ที่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

*โปรดระบุ

ชื่อ*
ชื่อ*
นามสกุล*
นามสกุล*
ประเภทคำถาม*
ประเภทคำถาม*
อีเมล*
อีเมล*
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?