เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

โรงพยาบาลสมิติเวชให้บริการแก่ผู้ที่มีบุตรยากด้วยเทคนิคทางการแพทย์ที่หลากหลายตั้งแต่เทคนิคระดับพื้นฐานไปจนขั้นก้าวหน้ามากๆ โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาเป็นผู้ดูแล ได้แก่

  • การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำผสมเทียม โดยการฉีดอสุจิเข้าในโพรงมดลูก (Intrauterine insemination หรือ IUI)
  • Artificial Insemination by intra uterine injection หรือ IUI)
  • เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology หรือ ART)
  • การทำเด็กหลอดแก้ว (In vitro fertilization หรือ IVF)
  • การทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasmic sperm injection หรือ ICSI)
  • การทำบลาสโตซิสต์ คัลเจอร์ (Blastocyst culture)
  • การแช่แข็งตัวอ่อน, เซลล์ไข่และอสุจิ (Embryo, oocyte and sperm freezing)
  • การเลี้ยงไข่จนสมบูรณ์ภายนอกร่างกาย (In Vitro oocyte maturation หรือ IVM)
  • การทำ Calcium Ionosphere treatment for low fertilization after ICSI
  • การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนใส่กลับ (Preimplantation genetic diagnosis หรือ PGD)
  • การตรวจคัดเลือกพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนใส่กลับ (Preimplantation genetic screening หรือPGS):, array CGH, FISH)

การทำเด็กหลอดแก้วโดยวิธี In Vitro Maturation (IVM) ที่ศูนย์ผู้มีบุตรยาก

การทำเด็กหลอดแก้วโดยวิธี IVM เป็นการรักษาภาวะมีบุตรยากแบบไม่ต้องให้ฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่หรือใช้ในปริมาณต่ำๆ (คุณแม่จึงได้รับฮอร์โมนน้อยกว่า) อย่างไรก็ดี วิธีการและกระบวนการต่างๆ ในห้องปฏิบัติการค่อนข้างใกล้เคียงกันทั้ง 2 วิธี ในการทำ IVM แพทย์จะนำไข่ในระยะแรกออกจากรังไข่และดูแลตัวอ่อนต่อในห้องปฏิบัติการ จนเป็นไข่แก่เพื่อทำการปฏิสนธิต่อไป ขั้นตอนอื่นๆ จะเหมือนกับการทำ IVF ตามปกติ

การทำ IVM เหมาะสำหรับใครบ้าง

การทำ IVM เหมาะสำหรับผู้มีบุตรยากที่มีภาวะเหล่านี้

  • คุณแม่ที่มีภาวะมีถุงไข่ขนาดเล็กในรังไข่มากกว่าปกติ หรือ Polycystic Ovarian Syndrome (PCOS)
  • คุณแม่ที่ภาวะการณ์เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการกระตุ้นรังไข่เกิน หรือ Ovarian Hyperstimulation Syndrome (OHSS)

ขั้นตอนในการทำ IVM

กระบวนการทำ IVM มีหลายขั้นตอน โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์

  • แพทย์จะนำไข่ระยะแรกออกจากรังไข่ (ตั้งแต่ยังไม่มีการพัฒนาสมบูรณ์)
  • นำไข่ที่ยังไม่สมบูรณ์ไปเลี้ยงต่อในห้องปฏิบัติการ จนกว่าจะพัฒนาได้สมบูรณ์
  • หากพบความผิดปกติในสเปิร์ม จะนำไข่ที่ผ่านการทำ ICSI หรือผสมแล้วไปทำ Calcium Ionosphere ซึ่งจะกระตุ้นการปฏิสนธิ และทำให้ตัวอ่อนมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์ด้วย
  • เมื่อไข่ที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการโตจนสมบูรณ์แล้ว จะนำมาผสมกับเชื้ออสุจิ (การทำ ICSI)
  • เพาะเลี้ยงไข่ที่ผสมแล้วในห้องปฏิบัติการหลายวันเพื่อให้ตัวอ่อนพัฒนา (เช่นเดียวกับการทำ IVF)
  • หลังจากปฏิสนธิแล้ว จะย้ายตัวอ่อนเข้าไปฝังที่มดลูกของมารดา (เช่นเดียวกับการทำ IVF)

เมื่อไรจึงทำ Calcium ionosphere

แพทย์จะใช้เทคนิค calcium ionosphere เมื่อ

  • การปฏิสนธิหลังจากทำ ICSI เป็นไปได้ช้า (น้อยกว่า 50%)
  • เชื้ออสุจิไม่แข็งแรง
  • เชื้ออสุจิมีรูปร่างผิดปกติ
  • เชื้ออสุจิไม่เคลื่อนไหว

เทคโนโลยี Array CGH

เทคโนโลยี Array CGH เป็นการวิเคราะห์โครโมโซม 23 คู่เพื่อให้มั่นใจว่าตัวอ่อนที่ถูกเลือกมีโครโมโซมปกติ อาจมีการตรวจโครโมโซมเพศเพื่อดูว่าตัวอ่อนมีโครโมโซมเพศชายหรือหญิง แพทย์จะเลือกตัวอ่อนที่แข็งแรงและมีโครโมโซมครบสมบูรณ์ย้ายเข้าไปสู่โพรงมดลูกของมารดา วิธีการนี้จะช่วยเพิ่มอัตราสำเร็จในการตั้งครรภ์

ต้องไปพบแพทย์กี่ครั้ง

4 ครั้ง

คุณแม่ควรต้องอยู่ใกล้แพทย์หรือในกรุงเทพนานเท่าไร

ประมาณ 2 สัปดาห์

อัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ของศูนย์ผู้มีบุตรยาก

25-30% ต่อการทำแต่ละครั้ง

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?