มะเร็งเต้านมและเทคโนโลยีในการตรวจ

มะเร็งเต้านมและเทคโนโลยีในการตรวจ

มะเร็งเต้านม ภัยเงียบคร่าชีวิตหญิงไทยสูงเป็นอันดับ 1 ปีละเกือบ 3,000 คน เฉลี่ยวันละ 7 คน ป่วยกว่า 34,000 คน ล่าสุดพบผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากถึง 19 ล้านคน แนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โรคนี้ถือเป็นภัยเงียบใกล้ตัว เนื่องจากในระยะแรกมะเร็งเต้านมจะไม่แสดงอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด จะปรากฏอาการผิดปกติให้เห็น เมื่ออยู่ในระยะที่ก้อนมะเร็งมีการอักเสบและลุกลามไปทั่วแล้ว การรักษามักไม่ได้ผล ส่วนใหญ่จะเสียชีวิต ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุด คือการค้นหาก้อนมะเร็งให้เร็วที่สุด หากพบเร็วจะมีโอกาสที่รักษาหายและรอดชีวิตสูง

ความก้าวหน้าในการตรวจมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมนั้นสามารถพบได้ตั้งแต่อายุ 19 ปีจนถึงอายุ 90 ปี ซึ่งจวบจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีใครทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดมะเร็ง ดังกล่าว ดังนั้นหนทางเดียวที่กระทำได้ก็คือการค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรกแล้วทำการ รักษาโดยทันที ซึ่งทำได้ง่ายกว่าและมีโอกาสหายขาดมากกว่า ทั้งนี้วิธีการค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกที่ดีที่สุด และยอมรับเป็นมาตรฐานโลกในขณะนี้คือ การเอ็กซเรย์เต้านมโดยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอล (Digital Mammogram)

การเอ็กซเรย์เต้านมโดยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอล (Digital Mammogram) ทำอย่างไร..? ปลอดภัยหรือไม่…?

ปัจจุบันการตรวจหามะเร็งได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยระบบ ดิจิตอลแมมโมแกรมแบบมี “ซีเอดี” ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่จะช่วยให้การตรวจหาเนื้อร้ายที่เป็น มะเร็งนั้นง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น เมื่อนำมาใช้ร่วมกับการเอ็กซเรย์เต้านมแบบทั่วไป (แมมโมแกรม)

Digital Mammogram เป็นการตรวจโดยใช้เครื่องเอ็กซเรย์ที่มีปริมาณรังสีค่อนข้างต่ำและน้อยกว่า รังสีเอ็กซเรย์ทั่วๆ ไป ซึ่งมีความสามารถในการแยกแยะความแตกต่างของไขมันและเนื้อเยื่ออื่นๆ ที่เป็นท่อและต่อมต่างๆ ในเต้านมสูงในการบ่งชี้ว่าเป็นลักษณะของมะเร็งเต้านมหรือไม่ ซึ่งเป็นการตรวจที่ปลอดภัย และไม่ทำอันตรายใดๆ ต่อเต้านม แม้กระทั่งผู้ที่เสริมเต้านมมาแล้ว ก็สามารถรับการตรวจเต้านมได้ ทั้งนี้โดยอาจมีการตรวจอัลตราซาวด์เต้านมร่วมด้วย เพื่อนำผลการตรวจทั้งสองอย่างมาพิจารณาประกอบกัน ซึ่งทำให้การวินิจฉัยมีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งการกระทำการตรวจนี้กระทำโดยเจ้าหน้าที่สุภาพสตรีภายใต้การดูแลของรังสี แพทย์

ซึ่งข้อดีของการเอ็กซเรย์เต้านม โดยใช้เครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอลนี้ก็คือ

  1. สามารถลดปริมาณรังสีเอกซเรย์ในการถ่ายแต่ละครั้ง
  2. สามารถที่จะค้นหาลักษณะเนื้อเยื่อที่ผิดปกติและหินปูนได้ละเอียดและชัดเจน ตั้งแต่ขนาดเพียง 0.1-1 ซม. ดังนั้นจึงทำให้สามารถค้นพบระยะแรกเริ่มของมะเร็งได้อย่างรวดเร็ว และดีกว่าการเอกซเรย์เต้านมด้วยเครื่องแบบเดิมๆ
  3. สามารถปรับความคมชัดของฟิล์มได้ที่เครื่องได้โดยที่ไต้องถ่ายซ้ำใหม่เหมือน เครื่องแบบใช้ฟิล์มเมื่อมีปัญหาภาพไม่คมชัด หรือความขาว / ดำของภาพไม่ได้ระดับ ทำให้สามารถลดอัตราการกลับมาทำและรับรังสีซ้ำ

หมายเหตุ

ยกเว้นในกรณีที่แพทย์สงสัยและต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมในบางจุดอาจจะต้องทำการตรวจอีกครั้ง เพื่อขยายรายละเอียดภาพที่สงสัย
ดิจิตอลแมมโมแกรม แตกต่างจากแมมโมแกรมทั่วไปอย่างไร
การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรมเป็นการเอ็กซเรย์เต้านม โดยเครื่องแมมโมแกรมทั่วไปจะบันทึกภาพไว้บนแผ่นฟิล์มซึ่งใช้เวลามากกว่าการ ใช้เครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมที่จะบันทึกภาพเต้านมแบบดิจิตอล ทำให้สามารถมองเห็นภาพบนจอคอมพิวเตอร์ได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น

ภาพถ่ายของเครื่องดิจิตอลนั้นมีความคมชัดสูง จึงช่วยให้สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อบริเวณเต้านมที่มีความ หนาแน่นแตกต่างกันได้อย่างชัดเจน ส่งผลให้การอ่านผลการตรวจสอบมีความถูกต้องแม่นยำเพิ่มขึ้นและเกิดข้อผิด พลาดน้อยลง ผู้ป่วยจึงไม่จำเป็นต้องได้รับการทดสอบด้วยเครื่องแมมโมแกรมซ้ำอีกครั้ง เพื่อยืนยันผลการตรวจสอบเหมือนที่ผ่านมา

ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรมเป็นประจำทุกปี บางรายอาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเต้านมก่อนวัย 40 เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงมากกว่าผู้อื่น เช่น มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งมาก่อน

เมื่อไหร่จึงควรไปตรวจเอกซเรย์เต้านม

ในกรณีคนทั่วไปที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ควรเริ่มต้นตรวจเมื่ออายุ 35 ปี และหากไม่พบความผิดปกติควรตรวจซ้ำ โดยตรวจทุก 2 ปี แต่หากมีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจเป็นประจำทุกปีหรือตามคำแนะนำของแพทย์

ในกรณีที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือมีภาวะเสี่ยงอื่นๆ เช่น

  • การมีบุตรหลังอายุ 30 ปี
  • การมีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี
  • การหมดประจำเดือนช้า หลังอายุ 65 ปี
  • การไม่มีบุตร
  • การได้รับฮอร์โมนเป็นระยะเวลานาน
  • ควรเริ่มตรวจแมมโมแกรมเร็วกว่าคนทั่วไป 5-10 ปี

หลาย คนอาจเคยได้ยินมาว่า เวลาตรวจแมมโมแกรมหรือเอกซเรย์เต้านมจะเจ็บมาก บางคนล่ำลือถึงขนาดว่าเจ็บอยู่หลายวัน เรื่องนี้จริง-เท็จแค่ไหนเป็นอย่างไรนั้น ทางแผนกใคร่ขอชี้แจงให้ทราบว่า เนื่องจากการเอกซเรย์เต้านม จะต้องมีการใช้อุปกรณ์กดเต้านมให้แบนลง เพื่อทำการถ่ายเอกซเรย์โดยใช้ปริมาณรังสีน้อยที่สุด เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดที่สุด จึงอาจทำให้มีความรู้สึกตึงขึ้นบ้างเป็นธรรมดา โดยเฉพาะการตรวจในช่วงก่อนจะมีรอบเดือนและเครื่องเอกซเรย์เต้านมของบางแห่ง จะเป็นชนิดที่ไม่ใช่ระบบอัตโนมัติจึงทำให้เจ้าหน้าที่ต้องทำการกดเต้านม มากกว่าปกติ ทำให้ผู้หญิงหลายคนที่ไปทำการตรวจนั้นรู้สึกเจ็บมากๆ ได้ ดังนั้น

  1. ไม่จำเป็นต้องงดน้ำงดอาหาร แต่ควรนัดตรวจให้อยู่ในช่วง 7 วันแรกหลังจากวันที่ประจำเดือนมา เพราะเต้านมจะไม่คัดตึงทำให้การบีบแผ่เต้านมจะทำได้ง่ายขึ้นและรู้สึกเจ็บ น้อยลง
  2. กรณีที่มีการผ่าตัดเสริมเต้านม ควรบอกแพทย์หรือพนักงานเทคนิคทุกครั้ง เพื่อการทำอย่างเหมาะสม
  3. ควรสวมเสื้อคลุมคนละท่อนกับกางเกงหรือกระโปรง และไม่ควรสวมเครื่องประดับที่หูหรือคอ
  4. ไม่ควรทาน้ำมัน แป้ง หรือโลชั่นเหนียวๆ ที่บริเวณเต้านม
  5. ในกรณีที่เคยทำการตรวจมาแล้ว ควรนำฟิล์มเก่ามาเปรียบเทียบด้วย

เมื่อตรวจเอ็กซเรย์เต้านมแล้วมีสิ่งผิดปกติจะทำอย่างไร

ถ้าพบว่าสงสัยจะเป็นมะเร็งก็สามารถทำการนำชิ้นเนื้อมาพิสูจน์ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ ซึ่งทำได้หลายวิธีทั้งวิธีผ่าตัดและไม่ต้องผ่าตัด
หากสงสัยว่าเป็นก้อนเนื้อชนิดธรรมดา ก็อาจจะต้องตรวจชิ้นเนื้อหรือติดตามดูอาการต่อไปได้ ซึ่งอาจใช้การตรวจอัลตราซาวด์ร่วมด้วย
หากพบว่าเป็นถุงน้ำหรือซีส อาจทำการเจาะดูดน้ำออกมาหรือไม่ ต้องให้การรักษาใดๆ ก็ได้ แต่หลังจากนั้นก็ควรทำการตรวจเอ็กซเรย์เต้านมสม่ำเสมอทุกๆ ปี

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?