CT Scan 640 Slice มาตรฐานใหม่ในการรักษาโรคหัวใจ

CT Scan 640 Slice มาตรฐานใหม่ในการรักษาโรคหัวใจ

HIGHLIGHTS:

  • CT Scan 640 Slice ทำให้การตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและจัดประเภทความเสี่ยงของอาการแม่นยำขึ้น
  • ภาพคมชัดและมีคุณภาพมากขึ้น เพราะมีตัวจับภาพในเครื่องสแกนหลายตัว และเร็วกว่าเครื่องสแกนทั่วๆ ไป

ปัจจุบันนี้เครื่อง CT Scan สามารถสแกนได้ 128 หรือ 256 slice ในเสี้ยววินาที แล้วเรายังจะต้องมีเครื่อง CT Scan ที่สแกนได้ถึง 640 อีกไหมคะ

อาจารย์นาวี: การสแกนหัวใจ 640 slice ทำให้การคัดกรองจัดประเภทความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจละเอียดยิ่งขึ้น

CT Scan 640 Slice มาตรฐานใหม่ในการรักษาโรคหัวใจ

อธิบายเพิ่มได้ไหมคะ

อาจารย์นาวี: CT Scan เป็นชื่อเรียกของ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่สร้างภาพโดยการตัดวัตถุออกเป็นส่วนๆ ให้เห็นถึงภายในได้ชัดเจน ถ้าเป็นการสแกนหัวใจเราจะเรียกว่า CCTA ซึ่งเป็นวิธีการตรวจหัวใจเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก เพื่อดูหลอดเลือดหัวใจว่ามีอาการตีบ-ตัน หรือมีความผิดปกติอื่นๆ ของหลอดเลือด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคัดกรองอาการที่รุนแรง หรือที่เราเรียกว่า โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน “acute coronary syndrome” หรือเรียกง่ายๆ ว่าหัวใจวาย การตรวจด้วยเครื่องรุ่น CT Scan 640 slice จะช่วยวินิจฉัยอาการหัวใจวายได้แม่นยำถึง 95%

คุณหมอช่วยอธิบายให้ด้วยนะคะว่าการสแกนแบบนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการวินิจฉัยได้อย่างไรบ้าง

อาจารย์นาวี: ความละเอียดของภาพจะคมชัดขึ้น เพราะมีตัวจับภาพเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังเร็วกว่าเครื่องรุ่นก่อน ซึ่งนอกจากจะช้ากว่าแล้วภาพยังเบลอๆ บ้างทำให้ไม่ชัดเจน ซึ่งเครื่องรุ่น 640 slice นี้จะให้ภาพที่มีคุณภาพที่ดีกว่า ถึงแม้ว่าอยู่ในภาวะที่หัวใจเต้นเร็วเราก็ยังได้ภาพที่ดี และเส้นเลือดที่ชัดเจน ทั้งยังรวดเร็วเพียงแค่กระพริบตาเท่านั้น ซึ่งทำให้การวินิจฉัยโรคของหมอง่ายขึ้น

เครื่อง CT Scan นี้สามารถใช้ได้กับอาการโรคหัวใจทุกชนิดหรือไม่

อาจารย์นาวี: ได้ครับ และ CCTA ยังใช้ได้กับคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคแน่นหน้าอกเรื้อรัง ผู้ป่วยบางรายมีอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเป็นสาเหตุจากโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่ ซึ่งต้องมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติม บางครั้งเราก็ต้องแยกให้ออกว่าการเจ็บแน่นหน้าอกมาจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่ โดยเราสามารถใช้เครื่อง CCTA ในคนไข้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเล็กน้อยถึงปานกลาง เพื่อคัดกรองโรคหลอดเลือดหัวใจตีบออกไป โดยสามารถหลีกเลี่ยงการตรวจฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมีความเสี่ยงมากกว่า

เครื่องสแกนรุ่น 640 slice ใช้รังสีน้อยกว่ารุ่นก่อนหน้านี้หรือไม่คะ

อาจารย์นาวี: น้อยกว่าครับ เราสามารถลดจำนวนรังสีเพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากรังสีเอกซเรย์ได้ด้วย แต่ละรอบในการถ่ายภาพของเครื่องนี้ใช้เวลาน้อยกว่า 1/3 เสี้ยววินาที ซึ่งใช้เพียงแค่รอบเดียวเราก็ได้ภาพที่ต้องการแล้ว ดังนั้นคนไข้จึงได้รับรังสีเพียงครั้งเดียว

เทียบกับเครื่อง CT Scan ทั่วไปล่ะคะ

อาจารย์นาวี: เครื่องรุ่นใหม่นี้แผ่รังสีออกมาน้อยกว่า 1 มิลิซีเวอร์ต (หน่วยวัดรังสี) ในการตรวจแต่ละครั้ง เมื่อเทียบกับเครื่องรุ่นก่อนที่แผ่รังสีมากสุดถึง 10 มิลิซีเวอร์ตต่อครั้ง

มีวิธีอื่นในการตรวจหัวใจหลอดเลือดหัวใจตีบอีกไหมคะ?

อาจารย์นาวี: โดยทั่วไปแล้ว หมอโรคหัวใจจะมีคนไข้มากมายที่มาหาเราด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก เราต้องแยกแยะให้ออกว่านี่เป็นอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่ เรามีวิธีในการคัดกรองโรคหลอดเลือดหัวใจหลายวิธี อย่างการให้ออกกำลังกาย โดยการวิ่งบนลู่วิ่งก็เป็นการคัดกรองอย่างหนึ่ง แต่บางครั้งผลการตรวจก็ไม่สามารถสรุปได้ ความแม่นยำของเครื่องในการตรวจโรคหลอดเลือดหัวใจสูงถึง 90-95%

แล้วกรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจล่ะคะ

อาจารย์นาวี: การตรวจด้วย CT scan สามารถช่วยหลีกเลี่ยงการตรวจฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ เราต้องเลือกคนไข้ให้เหมาะสมในการส่งตรวจ CT scan หรือการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ ถ้าคนไข้มีอาการแน่นหน้าอกชัดเจนว่าน่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรง เราจะส่งคนไข้ไปตรวจโดยการฉีดสี หลอดเลือดหัวใจเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ต้องมีการฉีดสี ในกรณีที่อาการแน่นหน้าอกไม่ชัดเจนว่าเป็นจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่ การตรวจด้วย CT scan จะสามารถคัดกรองโรคหลอดเลือดหัวใจตีบออกไปได้ และมีความเสี่ยงน้อยกว่า

เครื่อง CT Scan รุ่นใหม่นี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาลไหมคะ

อาจารย์นาวี: ใช่ครับ เรามีคนไข้ที่ป่วยด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอกเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้เพราะไลฟ์สไตล์สมัยใหม่นำพาให้เกิดโรค เบาหวาน คอเลสเตอรอล และความดันโลหิตสูง ร่วมกับการสูบบุหรี่เหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ คนไข้บางคนมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกทั่ว ๆ ไป ดังนั้นการตรวจด้วย CCTA จึงให้ข้อมูลมากกว่า

อาจารย์กำลังจะทำเคสการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจใช่ไหมคะ

อาจารย์นาวี: ใช่ครับ ในความคิดเห็นของหมอ การป้องกันคือสิ่งที่ดีสุด การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่คนไข้เริ่มมีอาการนั่นหมายถึงปฏิบัติการการป้องกันล้มเหลว CT Scan มีบทบาทสำคัญในการช่วยตรวจคัดกรองโรค แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายสูง ถ้าผล CT Scan ออกมาชัดเจน เราไม่ต้องให้คนไข้อยู่โรงพยาบาลเพื่อเฝ้าระวัง

CT Scan เหมาะสำหรับคนไข้ทุกคนไหมคะ

อาจารย์นาวี: เราต้องเลือกเฉพาะคนไข้ที่ไม่เป็นโรคไต เพราะในการตรวจ CT Scan ต้องมีการฉีดสีหรือสารทึบแสงซึ่งจะถูกขับออกมาทางไต อาจมีสารพิษตกค้างอยู่ในไตของคนไข้ได้

วิธีการที่ดีที่สุดที่จะทำให้หัวใจและระบบหลอดเลือดแข็งแรงคือวิธีใดคะ

อาจารย์นาวี: การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ การออกกำลังกาย ส่วนตัวหมอชอบเล่นแอโรบิค ซึ่งก็คือการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องในการเพิ่มอัตราการเต้นหัวใจ 60-80% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดของแต่ละบุคคล พยายามออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที คุณจะวิ่งเหยาะ ๆ หรือธรรมดา หรือขี่จักรยาน ก็แล้วแต่ และควบคุมอาหารการกินให้ดี

เครื่อง CT Scan รุ่นใหม่นี้ถูกออกแบบมาพิเศษเพื่อความสบายของคนไข้ใช่ไหมคะ

อาจารย์นาวี: ใช่เลยครับ เครื่องใหม่นี้จะเป็นช่องทางเปิดกว้าง เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจ ไม่เครียด ไม่อึดอัดในระหว่างการสแกน ประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการวินิจฉัยที่แม่นยำในการสแกนแต่ละครั้ง แทนที่จะต้องไปตรวจด้วยการฉีดสี ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องมีการสอดสายยางที่หลอดเลือดแดงโคโรนารีใช้เวลานาน และไม่สบายตัว แต่ประโยชน์ที่ชัดเจนของ CT Scan ให้คนไข้รู้สึกสบายตัว เพราะไม่ต้องมีการสอดสายยาง

เครื่อง CT Scan640 slice ถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน ที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง และยังช่วยให้สามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้นก่อนการเกิดโรค แต่สิ่งสำคัญก็คือการดูแลตัวเองเบื้องต้น ทั้งการออกกำลังกายและรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยเป็นเกราะป้องกันให้เราห่างไกลจากโรคภัย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนควรปฏิบัติ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทเนื้อแดง อาหารประเภททอด ถ้าหากรับประทานเนื้อสัตว์ ควรเลือกเป็นอาหารประเภทปลา หรือเนื้อไก่ไม่ติดหนัง และอาหารที่มีเส้นใยสูง อย่างผักและผลไม้

และสิ่งที่ต้องทำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหาร คือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิค ซึ่งเน้นการทำงานของปอดและหัวใจ และควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย

คุณสามารถตรวจสอบความเสี่ยงด้วยตนเองได้ที่

Reference Heart

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?