เนื้องอกมดลูก รักษาได้ด้วยการใช้ยา

เนื้องอกมดลูก รักษาได้ด้วยการใช้ยา

HIGHLIGHTS:

  • เนื้องอกมดลูกมักไม่แสดงอาการ และไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ถ้ามีความผิดปกติของประจำเดือน ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
  • การรักษาด้วยยา Ulipristal Acetate เป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยเนื้องอกมดลูกที่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัด อันเนื่องมาจากสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
  • การรักษาด้วยยาสามารถหยุดเลือดประจำเดือนที่ออกมากได้ภายในสัปดาห์แรกของการรักษา และควบคุมการไหลของเลือดที่ผิดปกติได้มากกว่า 90% สามารถลดขนาดก้อนเนื้องอกมดลูกและคงขนาดก้อนเนื้องอกที่ลดลงหลังจบการรักษา

โรคเนื้องอกมดลูกพบในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไป มากถึง 25% โดยเฉพาะในผู้หญิงที่แต่งงานแล้วแต่ยังไม่มีบุตร  มีน้ำหนักตัวมาก และมีประวัติครอบครัวเป็นเนื้องอกมดลูก

เนื้องอกมดลูกเป็นโรคที่ไม่อันตรายถึงชีวิต อีกทั้งพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีเนื้องอกมดลูกขนาดเล็ก ซึ่งมักไม่แสดงอาการ  และไม่จำเป็นต้องรักษา  แต่ถ้ามีความผิดปกติของประจำเดือน เช่น มีปริมาณมาก หรือมาหลายๆ ครั้งต่อเดือน ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพราะการปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลให้มีบุตรยาก  หรือเกิดภาวะโลหิตจางจากการสูญเสียเลือดมาก  รวมถึงถ้าเนื้องอกมดลูกเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้คลอดก่อนกำหนด หรือแท้งบุตร

ชนิดของเนื้องอกมดลูก

เนื้องอกมดลูกพบได้ตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าถั่วเขียวไปถึงโตใหญ่เท่าแตงโม อาจพบหลายก้อนหรือเพียงก้อนเดียว   ลักษณะค่อนข้างแข็ง  และสามารถพบได้ในทุกบริเวณของมดลูก ดังนี้

  • เนื้องอกในกล้ามเนื้อ (Intramural fibroid) ตำแหน่งที่พบได้บ่อยที่สุด  เป็นการเติบโตของก้อนเนื้องอกภายในกล้ามเนื้อมดลูก ส่งผลให้มดลูกหรือภายนอกของมดลูกบิดเบี้ยว ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการผิดปกติได้
  • เนื้องอกที่ผิวด้านนอกมดลูก (Subserosal fibroid) เนื้องอกชนิดนี้มักไม่แสดงอาการ ยกเว้นกดทับกระเพาะปัสสาวะหรือทวารหนัก เป็นเนื้องอกที่โตขึ้นแล้วดันออกมาอยู่ที่บริเวณผิวด้านนอกมดลูก
  • เนื้องอกที่โพรงมดลูก (Submucosal fibroid) ตำแหน่งที่พบได้น้อยมาก เป็นเนื้องอกในตำแหน่งที่เมื่อโตขึ้นแล้วถูกดันเข้าไปในบริเวณโพรงมดลูก โดยยังอยู่ใต้เยื่อบุมดลูก ส่งผลให้โพรงมดลูกเบี้ยวได้ มักทำให้มีอาการผิดปกติของประจำเดือน

สาเหตุของเนื้องอกมดลูก

เนื้องอกมดลูก เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกที่ผิดปกติ  แต่ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด อาจสันนิษฐานได้ว่าเกิดจากปัจจัย ดังนี้

  • พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเนื้องอกมดลูก ถือว่ามีปัจจัยเสี่ยงสูงขึ้น
  • ฮอร์โมนเพศผิดปกติ ทั้งเอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรน ซึ่งไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของเยื่อบุมดลูก ทั้งนี้ยังพบอีกว่าเนื้องอกมักจะมีขนาดโตขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ และเมื่อหมดประจำเดือน เนื้องอกจะฝ่อเล็กลงได้เอง

อาการของเนื้องอกมดลูก

ผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ หากพบว่าเนื้องอกมีขนาดเล็ก และมักตรวจพบโดยบังเอิญ ขณะตรวจสุขภาพประจำปี  สำหรับผู้ป่วยที่มีเนื้องอกมดลูกขนาดโต มักแสดงอาการผิดปกติของการมีประจำเดือน เช่น มีเลือดประจำเดือนออกมาก หรือกะปริดกะปรอย ปวดหน่วงๆ ที่ท้องน้อย หรือปวดหลังส่วนล่างแบบเรื้อรัง บางกรณีที่ก้อนเนื้องอกโตขึ้นไปกดอวัยวะข้างเคียงอาจทำให้ปัสสาวะบ่อย หรือท้องผูก  ในขณะที่หากก้อนเนื้องอกโตมากๆ จนคลำเจอที่บริเวณท้องน้อย อาจทำให้ท้องโตคล้ายตั้งครรภ์

การใช้ ยารักษาเนื้องอกมดลูก

เนื่องจากเนื้องอกมดลูกมักไม่แสดงอาการ และไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ถ้ามีความผิดปกติของประจำเดือน ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

การรักษาด้วยยา เป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยในการ รักษาเนื้องอกมดลูก ที่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัด อันเนื่องมาจากสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาด้วยยาสามารถหยุดเลือดประจำเดือนที่ออกมากได้ภายในสัปดาห์แรกของการรักษา และควบคุมการไหลของเลือดที่ผิดปกติได้มากกว่า 90% สามารถลดขนาดก้อนเนื้องอกมดลูกและคงขนาดก้อนเนื้องอกที่ลดลงหลังจบการรักษา


ยารักษาเนื้องอกมดลูก โดยไม่ต้องผ่าตัด สนใจทำนัดปรึกษาแพทย์ คลิกที่นี่ 

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?