จังหวะของหัวใจ

จังหวะของหัวใจ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ Cardiac Arrhythmia เป็นโรคที่มีมานานแล้ว แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามันเป็นยังไง เผลอๆ บางคนอาจมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะแต่ไม่รู้ตัวก็เป็นได้ เพราะโดยปกติหัวใจเราจะเต้นประมาณ 60 – 100 ครั้งต่อนาที แต่ถ้าออกกำลังกาย หรือ ตื่นเต้นตกใจ อาจเต้นเร็วขึ้นบ้างนิดหน่อย ถ้าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติจริงๆ แล้ว จะมีอาการใจสั่น มึนงง เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมหมดสติไปได้ทั้งในกรณีที่หัวใจเต้นเร็วเเละเต้นช้า ซึ่งอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็น อัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ในกรณีหัวใจเต้นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) หรือหัวใจวายซึ่งจะอันตราย และยากต่อการรักษาให้ผู้ป่วยมีสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีได้เหมือนเดิม อาการต่างๆ เหล่านี้ เกิดได้จากทั้งปัจจัยภายใน ได้แก่ ความเสื่อมตามวัย, เกลือเเร่ในร่างกายขาดความสมดุล, รูปร่างหัวใจผิดปกติ (Structural Heart Disease) ซึ่งประกอบไปด้วยหัวใจพิการเเต่กำเนิด, กล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ, กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ฯลฯ, โรคไหลตาย, ฮอร์โมนในไทรอยด์ต่ำ หรือสูงจนเป็นพิษ และกรรมพันธุ์ได้ในบางกรณี ส่วนสาเหตุภายนอกก็มีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ความเครียด ทำงานหนักเกินไป พักผ่อนไม่เพียงพอ ดื่มเหล้า

ในปัจจุบันเราพบผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และโรคหัวใจวายเรื้อรังเป็นจำนวนมาก และส่วนหนึ่งใน Case เหล่านี้ มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์รักษาที่ฝังในร่างกายร่วมด้วย เช่น Pace maker, Automatic intracardiac Defibrillator, Cardiac Resynchronization Therapy Defibrillator ซึ่งโดยปกติผู้ป่วยที่มีเครื่องมือเหล่านี้ฝังอยู่ในร่างกายจะต้องเข้ามารับการตรวจ Check เครื่องทุก 3-6 เดือน แล้วแต่ชนิดของเครื่อง และอาจต้องมารับการตรวจ Check ในบางกรณีที่มีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น เครื่อง Shock หลายครั้ง, เครื่องส่งเสียงร้องเตือนเมื่อก่อนเราจะไม่มีทางทราบได้เลยว่า เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นกับผู้ป่วยจนกว่าผู้ป่วยจะมาถึงโรงพยาบาล แต่ในปัจจุบันเราได้นำ Care link network เข้ามาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นระบบ Remote Monitoring คือช่องทางการติดต่อระหว่างตัวเครื่องที่ฝั่งในหัวใจของผู้ป่วยกับแพทย์ผู้ดูแลผ่านทางกล่อง Monitor โดยใช้ Cellular Signal ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเก็บอยู่ใน Website ที่ปลอดภัย ในปัจจุบันมีผู้ป่วยประมาณกว่า 100,000 รายทั่วโลกที่ใช้ Remote Monitoring ในการติดต่อสื่อสารกับแพทย์ โดยส่งข้อมูลได้จากบ้าน หรือในสถานที่ที่ผู้ป่วยออกนอกบ้านได้ตลอดทุกที่ทุกเวลา

ประโยชน์ของเครื่อง Remote Monitoring

  1. ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาลบ่อยครั้ง
  2. สะดวกสบายในการส่งข้อมูล และไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในการส่งข้อมูลแต่ละครั้ง
  3. รู้สึกอุ่นใจเหมือนมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่ใกล้ตัว

จากประสบการณ์ที่ผ่านมามีคนไข้บางรายที่ตัวเครื่องดังกล่าวได้ส่งสัญญาณเตือนมายังแพทย์เจ้าของไข้ ก่อนเกิดภาวะวิกฤต เช่น มีคนไข้อยู่รายหนึ่ง ตัวเครื่องได้ส่งสัญญาณมาว่ามีสัญญาณของอาการน้ำท่วมปอดโดยที่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการใดๆ ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลแล้ว ตัวหมอเองได้ทำการโทรไปแจ้งให้ปรับเพิ่มขนาดยา เพื่อป้องกันอาการน้ำท่วมปอดจนเกิดหัวใจวายตามมา ทำให้ผู้ป่วยรายนี้ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาลด้วยหัวใจวายบ่อยๆ เหมือนเมื่อก่อนที่ยังไม่มีนวัตกรรม Care link

ถึงแม้ว่าปัจจัยบางอย่างของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะไม่สามารถป้องกันได้ก็ตาม แต่การออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และไม่เครียด ถือว่าเป็นการป้องกันเบื้องต้นทีดีที่สุดที่อาจผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ “เพราะหัวใจของเราทำงานตลอดเวลาไม่มีวันหยุดเลย ถนอมกันไว้บ้างก็ดีนะคะ”

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?