มาตรฐานการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตทางบกและทางอากาศ

มาตรฐานการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตทางบกและทางอากาศ

HIGHLIGHTS:

  • อุบัติเหตุรุนแรงเกิดได้ในทุกที่ทุกเวลา การปฐมพยาบาลดูแลเบื้องต้นรวมถึงมาตรฐานการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยระหว่างเดินทางเพื่อไปรักษาต่อสำคัญที่สุด เพราะลดความรุนแรง ยื้อชีวิตผู้ป่วย ลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้
  • ภาวะวิกฤตขั้นรุนแรง อาทิ หัวใจหยุดเต้น หยุดหายใจ สมองกระทบกระเทือน จำเป็นต้องได้รับการประเมินและดูแลทันทีด้วยแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์สูง

สมิติเวช สุขุมวิท สมิติเวช ศรีนครินทร์ และรพ.เด็กสมิติเวช 3 โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)  ได้การรับรองมาตรฐาน The Commission on Accreditation of Medical Transport Systems (CAMTS) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกยอมรับ ด้านความปลอดภัยของกระบวนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤติทั้งทางบก (Ground Ambulance) และทางอากาศ (Air Ambulance) โดยแบ่งเป็นมาตรฐานของอเมริกา “The Commission on Accreditation of Medical Transport Systems : CAMTS” และยุโรป “The Commission on Accreditation of Medical Transport Systems Europe : CAMTS EU”

เกณฑ์ชี้วัดของ CAMTS

มีหลายองค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่ มาตรฐานการควบคุมการติดเชื้อ มาตรฐานการดูแลบำรุงรักษาและความปลอดภัยของยานพาหนะและเครื่องบินที่ใช้ในการลำเลียง มาตรฐานด้านการสื่อสารและการประสานงานการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีความปลอดภัยสูง โดยทีมแพทย์ผู้มากด้วยประสบการณ์ มาตรฐานของลานจอดเฮลิคอปเตอร์ มาตรฐานของบุคลากรทางการแพทย์ในการลำเลียงผู้ป่วย นักบิน และเจ้าหน้าที่ ที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มงวดและมีความต่อเนื่อง  มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายและการปฏิบัติตามจริยธรรม

ที่สำคัญยังรวมไปถึง ทิศทางและแนวทางการดำเนินงาน วิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรและแนวทางการดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรคต่าง ๆ ที่ต้องมีความทันสมัย  และยังต้องมีการบริหารจัดการด้านคุณภาพและมีการพัฒนาปรับปรุงงานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง มีระบบการวิเคราะห์ ป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงการสร้างองค์กรให้เน้นในด้านการป้องกันความเสี่ยงเชิงรุก มีระบบบริหารจัดการด้านอัตรากำลัง และการบริหารจัดการด้านสวัสดิการที่เหมาะสมแก่ทีมบุคลากรทางแพทย์เพื่อการเคลื่อนย้ายอีกด้วย

การช่วยหนึ่งชีวิตให้ปลอดภัยในภาวะวิกฤต จากอุบัติเหตุต่างๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์แล้ว ที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ มาตรฐานในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจอยู่ในพื้นที่ที่การรักษาพยาบาลไม่สามารถเข้าไปถึง รวมถึงเครื่องมือในการดูแลเบื้องต้นอาจมีไม่ครบ ไม่สามารถยื้อชีวิตผู้ป่วยได้ในที่สุด จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการเคลื่อนย้ายที่ได้มาตรฐานการรักษาหรือช่วยชีวิตอย่างเร่งด่วน และต้องมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นในการดูแลชีวิตผู้ป่วยระหว่างเคลื่อนย้าย อย่างเช่นเครื่อง ECMO (Extra Corporeal Membrane Oxygenator) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เปรียบเสมือนหัวใจและปอดเทียม ใช้ดูแลผู้ป่วยวิกฤติในกรณีที่หัวใจและปอดไม่สามารถทำงานได้เองตามปกติ ทำหน้าที่ปั๊มเลือดทดแทนการบีบตัวของหัวใจร่วมกับทำหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจนทดแทนปอด ช่วยประคับประคองในขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตต่างๆ ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ในกรณีอาจเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน หัวใจล้มเหลว หรือภาวะการหายใจล้มเหลว  เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียเกิดขึ้นและนำผู้ป่วยมารักษาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่โรงพยาบาลปลายทางมีการเตรียมความพร้อมของแพทย์และกุมารแพทย์เฉพาะทางด้านต่างๆ อาทิ ศัลยแพทย์ด้านสมอง ด้านหัวใจ ด้านทางเดินหายใจ และอื่นๆ ที่คอยดูแลต่อในทันที

ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน เครือบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS EMERGENCY SERVICES (BES) ได้รับประกาศนียบัตรต่ออายุการรับรองคุณภาพมาตรฐานการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤติทางบก ทางน้ำ ทางอากาศจาก CAMTS (The Commission on Accreditation of Medical Transport Systems) สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 2558-2564 และล่าสุดได้รับการรับรองมาตรฐาน CAMTS EU (The Commission on Accreditation of Medical Transport Systems Europe) จากยุโรป ถือเป็นผู้ให้บริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยรายที่สองของเอเชีย และอันดับสามของโลก ที่ได้รับรองมาตรฐานนี้  

นอกจากนี้ ยังได้รับการรับรองมาตรฐานการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางน้ำโดยเรือเป็นรายแรกของโลกและเอเชีย ที่ผ่านการรับรองครบทุกหมวดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ได้แก่ Rotor wing, Fixed Wing, Medical Escort, Surface Critical Care และ Surface-boat

ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน BES

ประกอบไปด้วย

  • ศูนย์สั่งการ และ 13 โรงพยาบาลในเครือที่มีศักยภาพในการรับส่งผู้ป่วย
  • เครื่องบินลำเลียง Fixed Wings 3 ลำ
  • เฮลิคอปเตอร์การแพทย์ฉุกเฉิน Aeromedical Transportation 2 ลำ
  • ทีม Medical Escort ทีมแพทย์พยาบาลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤติทางอากาศ
  • Surface Critical Care ประกอบด้วย
    • รถพยาบาลฉุกเฉิน (Ambulance)
    • รถมอเตอร์ไซค์การแพทย์ฉุกเฉิน (Motorlance)
    • เรือการแพทย์ฉุกเฉิน Hydrolance (Boat Ambulance)

ภายใต้การดูแลจากทีมบุคลากรทางการแพทย์ด้านการเคลื่อนย้ายเฉพาะทางในด้านต่าง ๆ อันได้แก่  Sea Transport Team, Air Transport Team, Land Transport Team, Dispatch Team (ทีมดูแลลานจอดเฮลิคอปเตอร์) และทีมสนับสนุนระบบคุณภาพต่าง ๆ รวมถึงระบบตรวจติดตามมาตรฐานความปลอดภัย ระบบรายงานความปลอดภัยที่ทันสมัย เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วยในการเคลื่อนย้าย

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?