กระดูกสันหลังติดเชื้อ อันตรายถึงตายได้

กระดูกสันหลังติดเชื้อ อันตรายถึงตายได้

ปวดหลัง มีไข้ หลังแข็งเกรง อาจบวม ร้อนเจ็บแบบอักเสบ บริเวณแนวกระดูกสันหลัง สัญญาณอันตรายของภาวะ กระดูกสันหลัง “ติดเชื้อ” อาจรุนแรงถึงขั้นเป็นอัมพาตและถึงแก่ความตายได้..

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต เทียนบุญ ผู้อำนวยการศูนย์รักษา Failed Back (Revision Spine Center) ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะกระดูกสันหลังติดเชื้อว่าเชื้อแบคทีเรีย สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทางคือ 1. เชื้อเข้า สู่กระดูกสันหลังโดยตรงเช่นถูกแทง 2. ลุกลามจากการติดเชื้อบริเวณใกล้กับกระดูกสันหลังและ 3. เชื้อที่มาตามกระแสเลือดโดย เฉพาะเมื่อคนเรามีภูมิต้านของร่างกายอ่อนแอลง

การติดเชื้อที่กระดูกสันหลังนั้น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ แบบฉับพลัน ซึ่งมักจะเป็นเชื้อประเภทแบคทีเรีย ทำให้เกิดการ อักเสบรุนแรง ไข้สูง เจ็บปวดมาก หลังแข็งเกรงและมีหนองเกิดขึ้น บางคนปวดมากจนไม่สามารถขยับตัวหรือลุกขึ้นเดินได้ อาจจะไม่พบอาการบวมแดงเหมือนการติดเชื้อที่อื่น ส่วนการติดเชื้อกลุ่มที่สอง จะเป็นแบบติดเชื้อชนิดไม่รุนแรง มักจะเกิดจากเชื้อวัณโรค เป็นส่วนใหญ่ อาการจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ในระยะแรกคนไข้หรือแพทย์อาจจะไม่รู้ว่าอาการปวดหลังนั้นเกิดจากการ ติดเชื้อ นึกว่าเป็นการปวดหลังธรรมดาทั่วไป เพราะบางคนไม่มีไข้ร่วมด้วยเลยและแม้จะมีไข้ก็ไม่สูง บางคนอาจจะมีไข้ต่ำๆ หลายๆวัน เพราะฉะนั้นจึงมักจะรู้เมื่อเชื้อโรคได้ลุกลามค่อนข้างมากแล้ว บางคนถึงขั้นหนองแตกออกจากกระดูกสันหลังมาที่ผิวหนังแล้วหรือ อาจจะพบความพิการเช่นหลังโก่ง

ทั้งนี้ ภาวะติดเชื้อในกระดูกสันหลัง(ไม่นับรวมการติดเชื้อที่ประสาทไขสันหลังโดยตรง)มักเกิดได้ใน 3 ตำแหน่ง ได้แก่ บริเวณหมอนรองกระดูก ตัวกระดูกสันหลัง และภายในช่องโพรงกระดูกซึี่งเป็นที่อยู่ของประสาทไขสันหลังและเส้นประสาท การติดเชื้อที่ช่องโพรงกระดูกมีความรุนแรงมากที่สุด อาจเป็นอันตรายมากจนถึงกับเป็นอัมพาตได้ภายหลัง 48-72 ชั่วโมง ถ้ารักษา ช้าอาจไม่หายขาด เกิดเป็นอัมพาตขึ้น บางรายอาจเสียชีวิตได้ และต้องใช้ระยะเวลาในการรักษารวมทั้งการฟื้นตัวเป็นเวลายาวนาน

ยังโชคดีที่การติดเชื้อที่ตัวกระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่มักจะเป็นพวกการติดเชื้อไม่รุนแรงจากเชื้อวัณโรค ผู้ป่วยจะมีหลังค่อมและคดงอ ในระยะการติดเชื้อท้ายๆของโรคถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือรักษาแต่เนิ่นๆ ขณะที่การติดเชื้อที่หมอนรองกระดูกสันหลัง มักจะเป็น การติดเชื้อที่รุนแรง มีอาการเจ็บปวดที่ทรมานอย่างมากๆ แผ่นหลังแข็งเกร็ง แอ่น มีไข้สูง ผู้ป่วยมักพบแพทย์เร็วทำให้วินิจฉัยโรคได้ เร็ว

ก่อนที่จะทำการรักษาภาวะติดเชื้อกระดูกสันหลังนั้น ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต กล่าวว่า สิ่งแรกที่ต้องรู้ให้ได้คือวินิจฉัยอาการ ที่คนไข้แสดงออกก่อนว่าเป็นการติดเชื้อและอยู่ในขั้นไหน จากนั้นแพทย์จะเจาะเลือด เพื่อดูปริมาณเม็ดเลือดขาว หาค่าการติดเชื้อ ด้วย CRP หาค่าการอักเสบด้วย ESR และแพทย์จะใช้การเอ็กเรยซ์ธรรมดาร่วมกับการทำ CT SCAN การทำ MRI เพื่อบอก ถึงการติดเชื้อและความรุนแรง ส่วนการทำ bone scan จะสามารถวิเคราะห์โรคติดเชื้อได้เร็วมากภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิดการติดเชื้อ นอก จากนี้ยังต้องหาวิธีการที่จะให้ได้ตัวเชื้อโรคนั้นๆมาให้ได้พร้อมการวิเคราะห์ sensivity test ซึ่งจะเป็นการดีที่สุดเพราะเชื้อโรคเหล่านี้นั้น จำ เป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมเป็นตัวฆ่าเชื้อโดยตรงเท่านั้น เราสามารถตรวจหาเชื้อโรคโดย การเพาะเชื้อจากหนองหรือเนื้อเยื่อโดยตรง หรือการเพาะเชื้อจากกระแสเลือด(hemoculture)

สำหรับแนวทางการรักษาภาวะติดเชื้อกระดูกสันหลัง ขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของโรคและชนิดของเชื้อโรค แต่จะต้องใช้ยาปฎิชี วนะ เป็นตัวหลักในการรักษาเสมอ มีดผ่าตัดไม่สามารถฆ่าตัวเชื้อโรคได้ การผ่าตัดจะเลือกผู้ป่วยเป็นรายๆไป ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการผ่าตัด ทุกรายเสมอไป ซึ่งหลักการผ่าตัดคือ 1. ต้องการทราบตัวเชื้อโรคและผล sensitivity test ต่อยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม 2.แก้อาการทางระบบ ประสาท 3.แก้ไขความพิการและเชื่อมกระดูกที่ถูกทำลายให้แข็งแรงสมบูรณ์

“เพื่อป้องกันภาวะติดเชื้อในกระดูกสันหลัง ให้สังเกตตัวเองว่า หากปวดหลังบ่อยๆ และมีไข้เป็นๆ หายๆ อยู่เรื่อยๆ ตรงนี้ต้อง ระวังการติดเชื้อชนิดไม่รุนแรง โดยเฉพาะการติดเชื้อวัณโรค ซึ่งปัจจุบันยังพบได้บ่อยในบ้านเรา เพราะเป็นเชื้อที่มีโอกาสเข้าสู่ร่างกายได้ ง่ายทางการหายใจ โดยเฉพาะในยามที่ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำ” ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต กล่าวทิ้งท้าย.

 

 

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?