เบบี๋ตกเตียง เมื่อไหร่ที่พ่อแม่ควรตกใจ

เบบี๋ตกเตียง เมื่อไหร่ที่พ่อแม่ควรตกใจ

HIGHLIGHTS:

  • เมื่อ เด็กตกเตียง แล้วมีอาการ ซึม ปลุกไม่ตื่น อาเจียน แหวะนมพุ่ง งอแงมากผิดปกติ อาจมีการบาดเจ็บที่สมอง ควรรีบพบแพทย์
  • เด็กที่มีอายุมากกว่า 4 เดือน จะมีการขยับตัวมากขึ้น กลิ้ง พลิกตัว ทำให้เสี่ยงต่อการตกเตียงได้
  • เมื่อเด็กตกเตียงแล้ว ไม่ยอมขยับ หรือร้องไห้ไม่หยุด อาจเกิดการบาดเจ็บที่กระดูกต้องรีบพบแพทย์ทันที
  • ไม่ควรใช้เตียงที่มีความสูงเกิน 120 เซนติเมตร และเตียงที่มีซี่ หรือช่องห่างของราวกั้นมากกว่า 6 เซนติเมตร เพราะจะเป็นอันตรายเมื่อ ลูกตกเตียง

หากเกิดเหตุฉุกเฉิน เรียกรถพยาบาล ตลอด 24 ชม. โทร 0 2022 2222 โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช


เบบี๋ตกเตียง เมื่อไหร่ที่พ่อแม่ควรตกใจ

เด็กตกเตียง ปัญหาการตกเตียงของเด็กเกิดขึ้นบ่อย โดยเฉพาะเบบี๋อายุมากกว่า 4 เดือนที่เริ่มขยับตัวได้มากขึ้น การตกเตียงของเด็กเล็กมักสร้างความตื่นตระหนกให้พ่อแม่อย่างมาก เบบี๋บางคนตกเตียงแล้วร้องไห้เสียงดัง จากนั้นเมื่อปลอบโยนก็กลับมาร่าเริงได้ปกติ แบบนี้ไม่น่าเป็นห่วง แต่หาก เด็กตกเตียง แล้วมีอาการดังนี้ควรรีบพบแพทย์ทันที

  • เมื่อเบบี๋สลบไป หรือมีอาการซึม อาเจียน แหวะนมแบบพุ่ง และงอแงมากจนผิดปกติ อาจบ่งถึงอาการบาดเจ็บทางสมอง ซึ่งไม่ควรนิ่งนอนใจต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
  • หากมีบาดแผลฉีกขาด เลือดออก ก็ควรพาไปพบแพทย์
  • อาการอื่นๆ เช่น ไม่ยอมรับประทานอาหาร คล้ายปวดท้อง อาจบ่งถึงอาการบาดเจ็บภายในช่องท้อง เช่น ตับ ม้าม ในบางครั้งอาจมีปัสสาวะสีแดงจางๆ บ่งถึงกระเพาะปัสสาวะจากการกระทบกระเทือน
  • เด็กไม่ยอมขยับ แขน ขา อาจเกิดการบาดเจ็บของกระดูก ข้อต่อ หรือกล้ามเนื้อ

หากเกิดเหตุฉุกเฉิน เรียกรถพยาบาล ตลอด 24 ชม. โทร 0 2022 2222 โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช

โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช มีบริการรับส่งผู้ป่วยเด็กวิกฤติด้วยรถพยาบาลฉุกเฉิน Super Bear ตลอด 24 ชม. และทีมเคลื่อนย้ายทางอากาศที่ผ่านการฝึกอบรมจากประเทศสหรัฐอเมริกา


เด็กตกเตียง วิธีสังเกตอาการ และการรักษาเบื้องต้น

หากมีอาการบวมช้ำ หัวโนธรรมดา ร้องไห้จ้าสักพักแล้วหยุดเอง ให้ประคบเย็นที่ตำแหน่งบวมช้ำ เฝ้าดูอาการ 24 – 48 ชั่วโมง หากไม่มีอาการหลังประคบเย็น 24 ชั่วโมง ให้ประคบอุ่นต่อไปในตำแหน่งเดิม แต่ถ้ามีอาการอื่นๆ ตามมา เช่น งอแงผิดปกติ อาเจียน ง่วงซึม หรือแหวะนมพุ่ง ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อรับการปรึกษาและรักษาให้ทันท่วงที

สำหรับการใช้ยาแก้ปวดควรใช้ยาพาราเซตามอล ซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่ายาแก้ปวดกลุ่มอื่นๆ แต่หากยังมีอาการ งอแง หรือปวดมาก ไม่ดีขึ้น ควรพาเด็กน้อยพบแพทย์


ปัจจัยเสี่ยง ลูกตกเตียง

  • ผู้ปกครอง พ่อแม่ ปล่อยลูกที่มีอายุมากกว่า 4 เดือนไว้คนเดียว ซึ่งเด็กเริ่มสามารถพลิกตัวได้แล้ว ทั้งนี้แม้เด็กเล็กกว่านั้นที่ยังขยับตัวเองไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรให้เบบี๋อยู่ในสายตาและระยะที่มือสามารเอื้อมถึงตลอดเวลา
  • เตียงนอนไม่ได้มาตรฐาน เช่น ไม่มีที่กั้น หรือมีซี่กรงกว้างมากเกินไป
    • เตียงที่มีความสูงมากกว่า 120 เซนติเมตร เพราะหากเด็กตกลงมา มีโอกาสที่จะเกิดเลือดออกในสมองสูงมาก
    • เตียงที่มีช่อง หรือซี่ หรือรูต่างๆ มากกว่า 6 เซนติเมตร เด็กสามารถเอาขาและตัวลอดออกไปได้ แต่ศีรษะจะยังติดอยู่ ดังนั้นเมื่อขาเด็กน้อยไม่ถึงพื้นอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุลักษณะแบบแขวนคอ ซึ่งเป็น อันตรายถึงชีวิตได้

ป้องกันไม่ให้เบบี๋ตกเตียง

  • ที่นอน หรือเตียงควรมีที่กั้นทั้ง 4 ด้าน ใส่ตัวล็อคให้แน่น เพื่อไม่ให้ลูกกลิ้งไปกระแทกแล้วที่กั้นหลุด จนทำให้ ลูกตกเตียง ได้
  • ที่กั้นเตียงควรมีช่องห่างไม่เกิน 6 เซนติเมตร อาจใช้ผ้าหรือหมอนพิงกันปิดซี่ราวไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กสอดแขน ขาออกมาได้
  • ควรใช้ที่นอนที่มีความสูงไม่มาก เช่น ฟูกปูกับพื้นห้อง
  • ไม่ควรให้ลูกนอนคนเดียว ควรอยู่ในสายตาพ่อแม่ ผู้ปกครองตลอดเวลา

ปัญหาเบบี๋ตกเตียงเป็นเรื่องใกล้ตัวคุณพ่อคุณแม่มากกว่าที่คิด อาจพลั้งเผลอเพียงแค่พริบตา ปล่อยให้ลูกน้อยตกเตียง ปัญหาที่ตามมานั้นมากมาย เมื่อลูกเจ็บพ่อแม่ก็เจ็บปวดใจไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเกิดอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง จึงไม่ควรปล่อยให้ลูกคลาดสายตา หรืออยู่ตามลำพัง และใช้เตียงที่เหมาะสม

อุบัติเหตุไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้


หากเกิดเหตุฉุกเฉิน เรียกรถพยาบาล ตลอด 24 ชม. โทร 0 2022 2222 โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช

โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช มีบริการรับส่งผู้ป่วยเด็กวิกฤติด้วยรถพยาบาลฉุกเฉิน Super Bear ตลอด 24 ชม. และทีมเคลื่อนย้ายทางอากาศที่ผ่านการฝึกอบรมจากประเทศสหรัฐอเมริกา


คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?