การเตรียมตัวตั้งครรภ์ของคุณแม่ยุคดิจิตอลที่อยากมีลูก

การเตรียมตัวตั้งครรภ์ของคุณแม่ยุคดิจิตอลที่อยากมีลูก

HIGHLIGHTS:

  • เตรียมตัวตั้งครรภ์ ควรงดสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์ เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งและการท้องนอกมดลูก
  • อาหารเตรียมตั้งครรภ์ เช่น ผักใบเขียว ถั่วเลนทิล กระเจี๊ยบมอญต้ม ข้าวโพด ส้ม และกล้วย มีกรดโฟลิกสูง ซึ่งกรดโฟลิกช่วยป้องกันทารกจากโรคกระดูกไขสันหลังผิดปกติ
  • สัตว์เลี้ยง เช่น แมว อาจเป็นตัวการที่ทำให้ทารกมีความพิการแต่กำเนิดได้
  • Preconception Screening Testing ช่วยหาความผิดปกติของยีนด้อยได้กว่า 600 ยีน ตรวจหาโรคทางพันธุกรรมได้กว่า 200 โรค และให้ความแม่นยำสูงถึง 95%

การจะตัดสินใจมีลูกซักคนในปัจจุบันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย คู่แต่งงานยุคดิจิตอลคงต้องคิดเยอะ และวางแผนอย่างรอบคอบ ยิ่งสมัยนี้เทคโนโลยีต่าง ๆ ก้าวหน้าอย่างมาก รวมถึงความรู้ทางการแพทย์ด้วย หากอยากมีลูกซักคน สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือความปลอดภัยและความแข็งแรงของลูกทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา 

เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ เริ่มทำได้ตั้งแต่เมื่อไหร่

สำหรับใครที่อยากมีลูกการเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนที่จะมีเจ้าตัวน้อยจึงเป็นเรื่องสำคัญ  อย่างน้อย ๆ ก็ต้องมีเวลา ซัก 3 เดือน สำหรับเตรียมร่างกายของคุณแม่ให้พร้อม เพื่อให้การตั้งครรภ์มีความเสี่ยงน้อยที่สุดทั้งกับตัวคุณแม่เองและเจ้าตัวน้อย

8 วิธีเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

1. บุหรี่และแอลกอฮอล์

ใครอยากมีลูกจำเป็นต้องรู้ว่านอกจากบุหรี่และแอลกอฮอล์ นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพว่าที่คุณแม่แล้ว ยังมีผลเสียต่อพัฒนาการ และ  เพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้ระบบหัวใจของทารกมีปัญหามากขึ้น ที่สำคัญยังเป็นความเสี่ยงของการแท้งหรือการตั้งครรภ์นอกมดลูกอีกด้วย

ดังนั้นหากตัดสินใจแล้วว่าอยากมีลูก  ควรเลิกสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ อย่าลืมชวนว่าที่คุณพ่อร่วมมือลดละเลิกไปพร้อมๆ กัน

2. อาหาร และการออกกำลังกาย

การเตรียมตัวตั้งครรภ์ของว่าที่คุณแม่อยากมีลูกควรเริ่มต้นจากการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ  

  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง  
  • งดดื่มกาแฟ
  • เลือกรับประทานอาหารที่หลากหลาย โดยเฉพาะผักและผลไม้หลากสีสัน เพราะในผักและผลไม้บางชนิด เช่น ผักใบเขียว ถั่วเลนทิล กระเจี๊ยบมอญต้ม ข้าวโพด ส้ม และกล้วย มีกรดโฟลิกสูง ซึ่งกรดโฟลิกช่วยป้องกันทารกจากโรคกระดูกไขสันหลังผิดปกติ ทานอาหารประเภทแป้งที่ดี เช่น   ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลเกรน ให้เพียงพอ รวมถึงทานโปรตีนทุกมื้อ โดยจากปลา และนมธัญพืช

และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ ของการเตรียมตัวตั้งครรภ์หากใครอยากมีลูกคือการเริ่มต้นออกกำลังกาย รวมถึงพยายามทำใจให้สบายและเครียดให้น้อยที่สุด

อยากมีลูก ควรกินอะไรดี วิตามินเตรียมตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

3. สำรวจยาประจำตัว

ยาบางชนิดอาจลดโอกาสการตั้งครรภ์ และอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นว่าที่คุณแม่ที่อยากมีลูกควรนำยาที่รับประทานประจำไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและรับคำแนะนำหากจำเป็นต้องใช้ยา

4. ปรับสิ่งแวดล้อม

ลองตรวจดูสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวว่ามีสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ เช่น ยาฆ่าแมลง ใยแก้ว สารตะกั่ว รังสี  รวมถึงหากเลี้ยงแมว ควรบอกแพทย์ให้เจาะเลือดตรวจหาภูมิต่อเชื้อท็อกโซพลาสมา (Toxoplasma) ปรสิตในอุจจาระแมว ซึ่งอาจนำโรคท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) ตัวการทำให้เด็กมีความพิการแต่กำเนิดได้ ว่าที่คุณแม่ควรสวมถุงมือและหน้ากากทุกครั้งเมื่อต้องสัมผัสแมว

5. เตรียมตัวตั้งครรภ์ ต้องสำรวจสถานที่ฝากครรภ์

ใครที่อยากมีลูกการตระเวนดูโรงพยาบาลสำหรับฝากครรภ์ไว้หลายๆ แห่งเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อค้นหาสถานที่เหมาะสมและดีที่สุดกับตัวคุณแม่และลูกน้อย จะเลือกจากความสะดวกทั้งสถานที่ การเดินทางและค่าใช้จ่าย หรือจะเลือกจากสูติแพทย์และกุมารแพทย์ที่ไว้วางใจก็ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละคน

6. วัคซีน เรื่องจำเป็น

อีกเรื่องที่ว่าที่คุณแม่ที่อยากมีลูกและกำลังเตรียมตัวตั้งครรภ์ทั้งหลายไม่ควรละเลย คือเรื่องของวัคซีน ต้องศึกษาดูว่ามีวัคซีนตัวใดที่ควรได้รับหรือหลีกเลี่ยงทั้งก่อนการตั้งครรภ์และระหว่างการตั้งครรภ์ วัคซีนไม่ได้มีความจำเป็นสำหรับเด็กๆ เท่านั้น แต่ยังมีความจำเป็นสำหรับผู้ใหญ่ด้วย เพราะผู้ใหญ่ที่มีการติดเชื้อจะเกิดโรคที่รุนแรง และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า ซึ่งวัคซีนที่ว่าที่คุณแม่ควรได้รับมีดังนี้

– วัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม และอีสุกอีใส วัคซีนชนิดนี้มีความสำคัญมากต่อผู้หญิงที่อยากมีลูกและเตรียมตัวจะตั้งครรภ์ และควรได้รับวัคซีนนี้ก่อนตั้งครรภ์ 3 เดือน

– วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ทุกคนควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยฉีดกระตุ้นปีละครั้ง สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนชนิดนี้ และอยู่ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดวัคซีนในขณะตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

– วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก  สามารถให้รวมกันในเข็มเดียว และควรฉีดกระตุ้นซ้ำในทุกๆ 10 ปี สำหรับว่าที่คุณแม่ที่อยากมีลูก สามารถฉีดกระตุ้นอย่างน้อย 1 เดือนก่อนเริ่มตั้งครรภ์ หรืออาจฉีดกระตุ้นในขณะตั้งครรภ์ได้ แต่ควรฉีดหลังจากอายุครรภ์เกิน 27 สัปดาห์ไปแล้ว เพื่อให้ภูมิคุ้มกันไปที่ทารกมากขึ้น

– วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ปกติวัคซีนชนิดนี้จะถูกแนะนำให้ฉีดในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 9-46 ปี ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนชนิดนี้ในขณะตั้งครรภ์ และควรฉีดวัคซีนให้ครบ 3 เข็ม สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกก่อนเริ่มตั้งครรภ์ ควรรอฉีดเข็มที่เหลือภายหลังจากคลอดแล้ว

– วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ เอ บี เชื้อไวรัสตับอักเสบสามารถแพร่จากแม่สู่ลูกได้ ดังนั้นในหญิงที่อยากมีลูกหรือกำลังตั้งครรภ์ควรเข้ารับการตรวจให้แน่ใจจะได้รู้ว่าควรรับวัคซีนประเภทนี้หรือไม่

7. เตรียมตัวตั้งครรภ์ ต้องทำความเข้าใจเรื่องการนับวันไข่ตก

ช่วงเวลาไข่ตกหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วงจรการตกไข่” จะช่วยให้ทราบเวลาที่มีโอกาสตั้งครรภ์สูงที่สุดการนับวันไข่ตกจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ไข่จะตกในช่วงประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนที่ประจำเดือนของว่าที่คุณแม่จะมา โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมักมีประจำเดือนทุกๆ 28 วัน และไข่จะตกในราววันที่ 14 ของรอบเดือน ซึ่งการนับวันไข่ตกให้แม่นได้ จะใช้ได้เฉพาะกับผู้หญิงที่มีรอบเดือนสม่ำเสมอเท่านั้น เช่น รอบเดือนจะมาทุกๆ 28 วันเสมอ การนับวันไข่ตกก็อยู่ในช่วงวันที่ 14 ของรอบเดือน (นับวันที่ประจำเดือนมาวันแรกเป็นวันที่ 1 ของรอบเดือน)

ส่วนผู้ที่มีรอบเดือนไม่สม่ำเสมอหรือไม่ค่อยตรงเวลา การนับวันไข่ตกอาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้ถ้าอยากมีลูก แต่ก็พอมีวิธีการคำนวนอยู่บ้าง โดยต้องนับวันไข่ตกจากการจดบันทึก “ความยาวของรอบเดือน” ไว้ทุกเดือนเป็นระยะเวลา 8-12 เดือน  ในแต่ละรอบเดือนให้เริ่มนับวันแรกตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือน ไปจนกระทั่งถึงวันสุดท้ายก่อนมีประจำเดือนในรอบต่อไป แล้วดูว่ารอบเดือนครั้งไหนมีจำนวนวันที่สั้นที่สุดและยาวที่สุด แล้วจึงนำมาคำนวณนับวันไข่ตกตามสูตร ดังนี้

วันแรกของระยะไม่ปลอดภัย (First fertile day) = จำนวนวันที่สั้นที่สุดของรอบเดือน – 18

วันสุดท้ายของระยะไม่ปลอดภัย (Last fertile day) = จำนวนวันที่ยาวที่สุดของรอบเดือน – 11

สมมุติว่าคุณจดไว้แล้ว 12 เดือน ผลที่ได้คือ 26, 24, 25, 28, 26, 27, 28, 27, 29, 30, 28, 26 จะเห็นได้ว่ารอบประจำเดือนที่สั้นที่สุดคือ 24 วัน และยาวสุดคือ 30 วัน เมื่อนำมาคำนวณจะได้ วันแรกของระยะไม่ปลอดภัย คือ 24-18 = 6 ส่วนวันสุดท้ายของระยะไม่ปลอดภัย คือ 30-11 = 19 ดังนั้น ระยะที่ควรมีเพศสัมพันธ์สำหรับคนอยากมีลูกในรอบเดือนหน้าจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 6 จนถึงวันที่ 19 ของรอบเดือน ซึ่งช่วงวันของรอบเดือนไม่ใช่วันตามปฏิทิน

8. การตรวจโรคทางพันธุกรรม

เรื่องสำคัญรองจากการนับวันไข่ตกแล้วการตรวจโรคทางพันธุกรรมถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของการเตรียมตัวตั้งครรภ์สำหรับคนอยากมีลูก หากในครอบครัวของว่าที่คุณแม่หรือคุณพ่อมีประวัติว่ามีคนเป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคฮีโมฟีเลีย โรคเบาหวาน  ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจทางพันธุกรรมโดยเฉพาะ เพื่อดูว่าตัวเองเป็นโรคติดต่อพันธุกรรมใดๆ หรือเป็นพาหะของโรคหรือไม่

การแพทย์สมัยนี้มีวิวัฒนาการ ที่เรียกว่า “การแพทย์เฉพาะเจาะจง” หรือ  Precision Medicine ที่มาช่วยดูแลคุณแม่ที่อยากมีลูกและเตรียมตัวตั้งครรภ์รวมไปถึงการป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยข้อมูลจากการตรวจยีนทางพันธุกรรมเพื่อครรภ์ที่มีคุณภาพ (Preconception Screening Testing)  ที่สามารถตรวจคัดกรองและวินิจฉัย ลึกระดับยีน หาความผิดปกติของยีนด้อยได้กว่า 600 ยีน ตรวจหาโรคทางพันธุกรรมได้กว่า 200 โรค และให้ความแม่นยำสูงถึง 95% หากเรารู้ว่า เรามียีนร้ายตัวไหนแฝงอยู่ เราก็สามารถหยุดส่งต่อยีนร้ายนี้ให้กับลูกของเราได้เมื่ออยากอยากมีลูก

ช่วงเวลา 3 เดือน ในการเตรียมตัวตั้งครรภ์สำหรับคนอยากมีลูกเพื่อเป็นคุณแม่ที่สมบูรณ์ พร้อมต้อนรับสมาชิกใหม่ที่มีสุขภาพดี เพื่อเติมเต็มครอบครับให้สมบูรณ์ ไม่ใช่เรื่องยาก และไม่ควรละเลย เพียง 8 ข้อการเตรียมตัวแบบง่ายๆ หากอยากมีลูกนับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและควรใส่ใจสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพในอนาคตอย่างแท้จริง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือทำนัดปรึกษาแพทย์ คลิกที่นี่ 

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?