ยิ่ง(อายุ)มาก ยิ่ง(นอน)น้อย

ยิ่ง(อายุ)มาก ยิ่ง(นอน)น้อย

HIGHLIGHTS:

  • การนอนหลับเป็นพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างจงใจจากส่วนลึกในสมอง
  • ผู้ที่นอนน้อยหรือนอนดึกบ่อย จะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคสมองเสื่อมและระบบภูมิต้านทานในร่างกายผิดปกติ
  • ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทอง พบว่าระดับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและโปรเจสเทอโรนลดลง เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้การนอนหลับไม่มีคุณภาพ

ยิ่ง(อายุ)มาก ยิ่ง(นอน)น้อย

หลายบ้านอาจเคยสังเกตเห็นคุณแม่สาละวนในครัวดึกดื่นและนอนเป็นคนสุดท้ายของบ้านเสมอ ด้วยภาระหน้าที่ที่ต้องจัดแจงให้จบก่อนวันใหม่จะมา บางครั้งแม่ของเราอาจไม่ได้สังเกตว่าร่างกายส่งสัญญาณให้ง่วงนอนช้าไปจากเดิม

การนอนหลับที่สำคัญจะมีช่วงหลับลึกและหลับฝัน

  • ช่วงหลับลึก จะเป็นช่วงที่ร่างกายฟื้นฟูพลังงานที่ใช้ไปทั้งวัน กลไกต่างๆ ในร่างกายจะช้าลง โกรทฮอร์โมนจะถูกหลั่งออกมาซ่อมแซมร่างกาย ระบบภูมิต้านทานในร่างกายจะเข้ามาดูแลความเสียหายและปรับสมดุล
  • ช่วงหลับฝัน จะเป็นช่วงที่ร่างกายปรับสมดุลความคิด อารมณ์ ความเครียด ที่สะสมในระหว่างวัน
  • หลายคนสงสัยว่าเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้นจะทำให้นอนหลับน้อยลงหรือไม่ผลการวิจัยพบว่า เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ยังคงต้องการหลับพักผ่อนเท่าเดิม เพียงแต่ทำไม่ได้อย่างที่ต้องการเพราะมีปัจจัยภายในและภายนอกมาเกี่ยวข้อง ทำให้คนที่นอนน้อย ในระยะยาวมีผลกระทบต่อความทรงจำและเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมมากกว่าคนปกติ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนหลับน้อยลงหรือหลับไม่สนิท

ปัจจัยภายใน

  • ความเครียดสะสม เพราะจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล รบกวนวงจรการนอนหลับ
  • ฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนเมลาโทนินที่ลดลงตามวัยที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการวงจรการนอน
  • มีปัญหาทางจิตและระบบประสาทที่ตอบสนองต่อสัญญาณการนอนหลับลดลง

ปัจจัยภายนอก

  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้ว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขั้นต้นอาจทำให้ง่วงและหลับได้ แต่หลังจากนั้นจะทำให้เราหลับไม่สนิทเพราะวงจรการนอนแปรปรวน
  • การบริโภคเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน 4-6 ชั่วโมงก่อนเวลาเข้านอน
  • สารนิโคตินในบุหรี่หรือยาสูบ
  • อาหารที่มีรสเผ็ดหรือปริมาณมากเกินไปก่อนเข้านอน 1-2 ชั่วโมง จะรบกวนการนอนหลับ เพราะร่างกายต้องนำพลังงานไปย่อยอาหาร อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกรดไหลย้อนตามมา
  • ความหิวหรืออาการท้องว่าง โดยเฉพาะคนที่กำลังเริ่มอดอาหารหรือคุมอาหารช่วงเย็น (ถ้ารู้สึกหิว การดื่มนมอัลมอนด์สักแก้วอาจช่วยได้ เพราะนอกจากจะอยู่ท้องแล้วยังมีกรดอะมิโนที่ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น)
  • ดื่มน้ำมากไป จนต้องตื่นมาปัสสาวะในตอนกลางคืน
  • คู่นอนนอนกรน ข้างบ้านเสียงดัง ห้องนอนเปิดแอร์หนาวไป อากาศร้อนไป
  • การทำงานเป็นกะ ไม่สม่ำเสมอ หรือมีอาการ Jet Lag เพราะเดินทางข้ามทวีปบ่อย
  • ยาหลายชนิดที่ทำให้นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท และบางชนิดทำให้ระยะเวลาหลับลดลง เช่น ยาในกลุ่มโรคหอบหืด ยาโรคหัวใจบางชนิด ยาต้านไวรัสบางชนิด หากมียาที่เพิ่งได้มาใหม่จากแพทย์ แล้วสังเกตว่านอนหลับได้ไม่สนิทให้รีบปรึกษาแพทย์
  • มีโรคประจำตัว เช่น ปวดเรื้อรังตามจุดต่างๆ กรดไหลย้อน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • แสงสว่างในห้องนอน จะขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนเมลาโทนิน ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับได้ จึงควรปิดไฟให้หมดทั้งห้อง
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?