ส่องกล้องมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) และผ่าตัดรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

ส่องกล้องมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) และผ่าตัดรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

ทำไมเราควร ส่องกล้องตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

การเจ็บป่วยทั่วไป คนไข้จะมาหาคุณหมอเมื่อมีอาการผิดปกติ แต่สำหรับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ หลายกรณีพบว่าผู้ป่วยไม่พบอาการผิดปกติ บางครั้งอาการที่พบอาจคล้ายกับอาการของโรคลำไส้และทางเดินอาหารอื่นๆ ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าไม่เป็นอันตราย เช่น

  • ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลง
  • ท้องเสียสลับกับท้องผูก
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • อ่อนเพลียอ่อนแรง ซีดจาง
  • บางคนถ่ายเป็นเลือด มีเลือดออกปนมาในอุจจาระ
  • ปวดท้องเรื้อรัง โดยเฉพาะบริเวณท้องน้อย

ซึ่งเหล่านี้อาจเป็นอาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 2-4 แล้ว

โครงการ #เราไม่อยากให้ใครป่วย ของสมิติเวช ได้เช็กข้อมูลคนไข้ทั้งหมด พบว่า 97% ของคนไข้ ไม่รู้ตัวว่ากำลังเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ อายุ 45 ปีขึ้นไป ไม่เคยส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่มาก่อน และ กำลังเข้าใจผิด คิดว่าต้องมีอาการก่อน จึงค่อยมาพบคุณหมอ ดังนั้นคุณหมอจึงอยากรณรงค์ให้คนไข้ของเรา อายุ 45 ปีขึ้นไป ที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ มาเข้ารับการส่องกล้อง (หากมีญาติสายตรงเคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน ควรต้องเข้ามาส่องกล้องเร็วขึ้นเนื่องจากมะเร็งสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม)

อย่ารอให้มีอาการ เพราะมีอาการ = มะเร็งลุกลามแล้ว หากคุณมีความเสี่ยงและสนใจทำนัดปรึกษาแพทย์ คลิกที่นี่ 


สนใจเข้ารับการตรวจส่องกล้อง ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ต้องทำอย่างไร

ผู้รับบริการทุกคนจะต้องพบคุณหมอก่อนทุกครั้ง เพื่อให้ข้อมูลประวัติส่วนตัว เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับโรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา รวมถึงยาที่รับประทานเป็นประจำ คุณหมอจะให้ข้อมูลการเตรียมตัวการส่องกล้อง รวมถึงตอบคำถามและข้อสงสัยต่างๆ เมื่อผู้รับบริการตกลงจะเข้ารับการส่องกล้องแล้ว พยาบาลจะขอทำนัดเพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่อีกครั้ง

ต้องการทำนัดพบคุณหมอ เพื่อปรึกษาเรื่องการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การใช้สิทธิ์ประกัน คลิกที่นี่


 

ผ่าตัดรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ แบบเดิม กับ แบบผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Colectomy) ต่างกันอย่างไร

แต่เดิมการผ่าตัด มะเร็งลำไส้ใหญ่ จำเป็นต้องผ่าหน้าท้องเพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็งและตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็งออก ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีความกังวล ทั้งเรื่องการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ การพักฟื้น รวมถึงค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดและอาการหลังผ่าตัด

ปัจจุบันได้มีการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการ ผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Laparoscopic Colectomy) โดยใช้วิธีเจาะหน้าท้องเพียงแผลเล็กๆ เพื่อสอดเครื่องมือติดกล้องที่มีกำลังขยายสูงเข้าไปดูและทำการผ่าตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็ง รวมถึงต่อมน้ำเหลืองและเส้นเลือดที่อยู่ใกล้ๆ ออก มีผลข้างเคียงน้อย ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว และค่าใช้จ่ายไม่สูงเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบหน้าท้อง (Colostomy) ที่ต้องใช้เวลายาวนานและค่าใช้จ่ายระหว่างการพักฟื้นที่มากกว่า

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • นพ.ชิงเยี่ยม ปัญจะปิยะกุล
  • นพ. อภิชาติ ธนพัฒน์เจริญ
  • นพ. ชาญจิโรจน์ ทิพย์ธนกิจ
  • นพ. พรเทพ ประทานวณิช
  • นพ. ภัคพงศ์ วัฒนโอฬาร

ผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ผ่านกล้อง ราคาเท่าไหร่ ใช้สิทธิประกันภัยได้หรือไม่? คลิกที่นี่

สมิติเวชมีทีมพร้อมช่วยเหลือและให้บริการ

  • ปรึกษาแผนการรักษากับแพทย์ วิดีโอคอลผ่านทางออนไลน์ (Second Opinion)
  • วางแผนการรักษา หากมีประวัติการรักษาหรือใบประเมินราคาจากโรงพยาบาลอื่น
  • วางแผนค่าใช้จ่าย โดยทีมประเมินราคา พร้อมการันตีราคาให้ (เฉพาะหัตถการที่มีแพ็กเกจที่ไม่มีความซับซ้อน)
  • ตรวจสอบสิทธิ ความคุ้มครองเบื้องต้นกับบริษัทประกัน ทั้งไทยและต่างประเทศ (เฉพาะบริษัทประกันคู่สัญญา)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

*โปรดระบุ

ชื่อ*
ชื่อ*
นามสกุล*
นามสกุล*
สอบถามข้อมูล เกี่ยวกับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ หรือการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้ที่นี่*
สอบถามข้อมูล เกี่ยวกับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ หรือการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้ที่นี่*
อีเมล*
อีเมล*
สะดวกรับบริการที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท หรือ โรงพยาบาลสมิตเวช ศรีนครินทร์*
สะดวกรับบริการที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท หรือ โรงพยาบาลสมิตเวช ศรีนครินทร์*
คะแนนบทความ
สมัคร

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?