ไวน์แดง VS ไวน์ขาว ดีต่อสุขภาพจริงหรือ?

ไวน์แดง VS ไวน์ขาว ดีต่อสุขภาพจริงหรือ?

HIGHLIGHTS:

  • สารต้านอนุมูลอิสระอันทรงพลังในไวน์ คือ เรสเวอราทรอล (Resveratrol) ช่วยให้ผิวพรรณอ่อนเยาว์ นอกจากนั้น ยังช่วยป้องกันโรคหัวใจ ลดไขมันชนิดไม่ดี (LDL Cholesterol) และป้องกันการเกิดมะเร็ง
  • 1 drink (หน่วยดื่มมาตรฐาน) ของการดื่มไวน์ คือ ประมาณ 5 oz หรือ 150 cc ของไวน์ 1 แก้ว (12% alcohol) โดยทั่วไปแล้วไม่แนะนำให้ดื่มเกินวันละ 1 drink ถ้าผู้ชายดื่มเกิน 3 drink หรือผู้หญิงดื่มเกิน 1.5 drink ต่อวันมีโอกาสเป็นโรคตับแข็งได้
  • การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากกว่า 7-10 หน่วยดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งในเพศชายและหญิง

ไวน์มีต้นกำเนิดในศตวรรษที่ 19 เมื่อหลุยส์ ปาสเตอร์ นักวิทยาศาสตร์คนดังของโลกพบว่า “ยีสต์” มีอยู่ตามธรรมชาติของผิวองุ่น เป็นตัวเปลี่ยนน้ำตาลในผลไม้เป็นแอลกอฮอล์ จึงเกิดการหมักน้ำองุ่นให้กลายเป็นเหล้าเป็นไวน์ตามธรรมชาติ

ปัจจุบัน เราจำแนกไวน์ (Wine) ออกเป็น 5 สไตล์หลัก ได้แก่ ไวน์ขาว (White Wine) ไวน์แดง (Red Wine) ไวน์โรเซ่ (Rose Wine) ไวน์หวาน (Dessert Wine) และไวน์สปาร์คกลิ้ง (Sparkling Wine)

ไวน์แดง (Red Wine)

  • ไวน์แดง (Red Wine) ไม่ได้แตกต่างจากไวน์ขาว (White Wine) มากนัก แต่สาเหตุที่ทำให้มีสีแดงเพราะมีการเติมเปลือกองุ่น (Grape Skin) ขั้วองุ่น (Grape Pip) รวมถึงเมล็ด (Seed) เข้าไปในกระบวนการหมักด้วย นอกจากนั้น ไวน์แดงยังถูกหมักในอุณหภูมิสูงเพื่อสกัดเอาสี กลิ่นและรสฝาดของสารแทนนิน (Tanin) ออกมา ในความเข้มข้นแตกต่างกันไป ตามระยะเวลา
  • พันธุ์องุ่นไวน์แดงสำหรับผู้เริ่มต้นชิมไวน์ (Beginner) ได้แก่ คาร์เบอเน โซวีญง (Cabernet Sauvignon) แมร์โล (Merlot) ปิโนต์ นัวร์ (Pinot Noir) และซินฟานเดล (Zinfandel)
  • การจับคู่กับอาหาร (Food Pairing) :ไวน์แดงแบบไลท์บอดี้ หรือกลิ่นและรสเบาๆ (Light Body Red Wine) สามารถจับคู่ได้กับ ผักย่าง เนื้อสัตว์ปีก ส่วนแบบกลิ่นและรสปานกลางถึงเข้มข้น (Medium Body-Full Body) สามารถจับคู่กับอาหารจานที่เป็นเนื้อสัตว์สี่ขา หรือสเต็กได้อย่างเข้ากัน

ไวน์ขาว (White Wine)

  • ไวน์ขาว (White Wine) อันที่จริงแล้วไม่ได้ทำมาจากองุ่นเขียวเพียงอย่างเดียว แต่สามารถใช้องุ่นแดง หรือองุ่นดำ ในการผลิตไวน์ขาวได้เช่นกัน แต่จะแยกเปลือกที่มีสีแดงออก (Pigment) ปกติไวน์ขาว (White Wine) มักจะมีรสเปรี้ยวเด่น สดใส บางยี่ห้อมีกลิ่นของความครีมมี่ (Creamy) คล้ายๆ มีกลิ่นวนิลาเบาๆ โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ในการผลิต
  • พันธุ์องุ่นแนะนำสำหรับเหล่าบีกินเนอร์ (Wine Beginner) ได้แก่ ชาร์ดอนเนย์ (Chardonnay) รีสลิง (Riesling) โซวีญง บลอง (Sauvignon Blanc) และมอสคาโต้ (Moscato) เป็นต้น
  • การจับคู่กับอาหาร (Food Pairing) : อาหารที่มักจะนำมาจับคู่กับไวน์ขาว ได้แก่ ชีสเนื้อนุ่ม (Soft Cheese) ขนมปังขาว เนื้อปลา อาหารทะเล หรือสลัด

ไวน์โรเซ่ (Rose Wine)

  • ไวน์โรเซ่ (Rose Wine) เป็นไวน์สีชมพูดอกกุหลาบ อาจทำมาจากองุ่นแดง หรือองุ่นดำ แต่ในกระบวนการหมัก ใช้เวลาเพียง 12-36 ชั่วโมงเท่านั้น บางแหล่งอาจใช้วิธีนำไวน์แดงและไวน์ขาว มาผสมเข้าด้วยกัน ไวน์โรเซ่เป็นอีกไวน์ที่ดื่มง่ายเนื่องจากมีรสชาติที่อ่อนไปจนถึงหวาน และความฝาดต่ำ
  • การจับคู่กับอาหาร (Food Pairing) : อาหารที่มักจะจับคู่กับไวน์โรเซ่ (Rose Wine) เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ รวมไปถึงผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

ไวน์หวาน (Dessert Wine)

  • ไวน์หวาน อาจเป็นได้ทั้งไวน์แดงและไวน์ขาวที่มีรสหวานนำ นิยมเสิร์ฟเพื่อดื่มคู่กับของหวาน แต่ในบางประเทศ เช่น อังกฤษ มักดื่มไวน์ขาวหวาน (White Dessert Wine) เพื่อเรียกน้ำย่อยก่อนมื้ออาหาร และดื่มไวน์แดงหวาน (Red Dessert Wine) เพื่อล้างปากหลังมื้ออาหาร ไวน์หวาน ยังถูกแยกย่อยออกไปเป็น พอร์ท (Port) ทาวนี่ (Tawny) หรือเชอร์รี่ (Sherry) เป็นต้น
  • การจับคู่กับอาหาร (Food Pairing): นอกจากขนมหวานแทบทุกชนิดแล้ว ยังสามารถจับคู่กับเนื้อรมควัน หรือชีสนุ่ม (Soft Cheese) ได้เช่นกัน

สปาร์คกลิ้งไวน์ (Sparkling Wine)

  • สปาร์คกลิ้งไวน์ (Sparkling) เป็นไวน์ที่เปี่ยมไปด้วยรสสัมผัสซ่าจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติในกระบวนการหมัก หรือถูกเติมเข้าไประหว่างการหมักก็ได้ การเรียกชื่อนั้นมักเรียกตามพื้นที่หรือแหล่งที่ผลิต (Region) เช่น “คาวา (Cava) จากสเปน (Spain)” หรือ “โปรเซคโก้ (Prosecco) จากอิตาลี (Italy)” รวมถึง “แชมเปญ (Champagne) จากแคว้นชองปาญ ประเทศฝรั่งเศส (France)” ที่คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นชื่อเรียกของสปาร์คกลิ้งไวน์
  • การจับคู่กับอาหาร (Food Pairing): สปาร์คกลิ้งไวน์ (Sparkling Wine) มักจับคู่กับอาหารรสไม่จัดมาก เช่น ชีสเนื้ออ่อน (Soft Cheese) จนถึงชีสเนื้อแข็ง (Hard Cheese) สลัดผัก อาหารจำพวกปลา และขนมปัง

คำที่เราอาจเคยได้ยินเมื่อไปร้านไวน์

  • ฟินิช (Finish) หมายถึง รสสัมผัสสุดท้าย ว่าอยู่บนลิ้นนานแค่ไหน หลังกลืนไวน์เข้าไปแล้ว ยิ่งรสชาติติดค้างยาวนาน เกิน 10 วินาทีขึ้นไป นักชิมไวน์มักจะพูดว่า ‘Great Finish’
  • ฟลอรัล (Floral) หมายถึง ไวน์บางยี่ห้อจะมีกลิ่นคล้ายดอกไม้ผสม ซึ่งขึ้นกับพันธุ์ขององุ่น เช่น พันธุ์วิโยนิเยร์ (Viognier) พันธุ์มัสแคต (Muscat) เป็นต้น
  • เฟรช (Fresh) และ ไลฟ์ลีย์ (Lively) หมายถึง ในขณะที่กำลังจะดื่ม หากหมุนๆ แก้วแล้วเริ่มดมไวน์ แล้วรู้สึกได้ถึงความสดชื่น หอมอ่อนๆ
  • ฟรุตตี้ (Fruity) หมายถึง ไวน์มีรสขององุ่นที่ชัดเจน
  • ฮอต (Hot) หมายถึง ไวน์ที่จิบแล้วรู้สึกร้อนวูบวาบในลำคอ ซึ่งเกิดจากประมาณแอลกอฮอล์ที่สูง
  • อินเทนซิตี้ (Intensity) หมายถึง ไวน์ที่มีรสชาติและกลิ่นที่เข้มข้น ยั่วยวน รวมทั้งมีปริมาณแอลกอฮอล์ที่สูง
  • ลีฟี (Leafy) หมายถึง ไวน์ที่มีกลิ่นของใบไม้ กลิ่นต้นหญ้าอ่อนๆ

ความแตกต่างของไวน์แดงและไวน์ขาว

ไวน์แดง

ไวน์ขาว

ทำจากองุ่นดำ

ทำจากองุ่นเขียวหรือดำก็ได้
รสเข้มข้นและหอม รสจาง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ แนวผลไม้
นิยมดื่มแบบไม่เย็น นิยมดื่มแบบตอนเย็นจัดๆ
นิยมทานกับเนื้อสัตว์สี่ขา นิยมทานกับปลา และไก่ หรืออาหารเบาๆ
125 แคลอรี่ต่อแก้ว 115 แคลอรี่ต่อแก้ว

มีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าไวน์ขาว ประมาณ 10 เท่า ได้แก่

  • เรสเวอราทรอล (Resveratrol) กระตุ้นยีน Sirtuin 2 ทำให้เซลล์ร่างกายเกิดการซ่อมแซมตัวเอง ช่วยให้ผิวพรรณอ่อนเยาว์ นอกจากนั้น ยังช่วยป้องกันโรคหัวใจ ลดไขมันชนิดไม่ดี (LDL Cholesterol) และป้องกันการเกิดมะเร็ง
  • เควอซิทิน (Quercetin) ลดการอักเสบในหลอดเลือด ลดไขมันชนิดไม่ดี (LDL-C) ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ไพซีแทนอน (Piceatannol) สารต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจช่วยลดการสะสมของไขมัน และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • สารกลุ่มโอพีซี OPC (Oligomeric proanthocyanidins)  ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของหลอดเลือด คอลลาเจน และเสมือนสารกันแดดธรรมชาติ เพราะลดการถูกทำลายจากแสงยูวีได้ถึง 15%

มีสารต้านอนุมูลอิสระน้อยกว่าไวน์แดง

  • เรสเวอราทรอล (Resveratrol) กระตุ้นยีน Sirtuin 2 ทำให้เซลล์ร่างกายเกิดการซ่อมแซมตัวเอง ช่วยให้ผิวพรรณอ่อนเยาว์ นอกจากนั้น ยังช่วยป้องกันโรคหัวใจ ลดไขมันชนิดไม่ดี (LDL Cholesterol) และป้องกันการเกิดมะเร็ง
  • เควอซิทิน (Quercetin) ลดการอักเสบในหลอดเลือด ลดไขมันชนิดไม่ดี (LDL-C) ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ไพซีแทนอน (Piceatannol) สารต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจช่วยลดการสะสมของไขมัน และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • สารกลุ่มโอพีซี OPC (Oligomeric proanthocyanidins) ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของหลอดเลือด คอลลาเจน และเสมือนสารกันแดดธรรมชาติ เพราะลดการถูกทำลายจากแสงยูวีได้ถึง 15%

เห็นได้ชัดว่า การดื่มไวน์แดงนั้นให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าไวน์ขาว แต่ทั้งนี้ ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป เพราะไวน์มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งแอลกอฮอล์ที่มากเกินพอดี ส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้

ไวน์มีแอลกอฮอล์กี่เปอร์เซ็นต์

ปกติแล้ว 1 drink  (หน่วยดื่มมาตรฐาน) ของการดื่มไวน์ คือ ประมาณ 5 oz หรือ 150 cc ของไวน์ 1 แก้ว (12% alcohol) โดยทั่วไปแล้วไม่แนะนำให้ดื่มเกินวันละ 1 drink ถ้าผู้ชายดื่มเกิน 3 drink หรือผู้หญิงดื่มเกิน 1.5 drink ต่อวันมีโอกาสเป็นโรคตับแข็งได้

นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยเรื่อง “Risk thresholds for alcohol consumption: combined analysis of individual-participant data for 599,912 current drinkers in 83 prospective studies” ตีพิมพ์เมื่อวันที่14 เม.ย. 2561 ในวารสาร Lancet ซึ่งเป็นวารสารที่เป็นที่รู้จักทางการแพทย์มากที่สุด พบข้อมูลสำคัญคือ การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากกว่า 7-10 drink/week (หน่วยดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์) จะเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งในเพศชายและหญิง

สรุปคือ หากต้องการดื่ม ควรควบคุมปริมาณการดื่มในแต่ละครั้งให้อยู่ในปริมาณที่ไม่เกิน 1-2 drink จะลดโอกาสการเกิดโรคและภาวะอันตรายต่อร่างกายได้ อีกทั้งทำให้มีสติรู้ตัว สามารถขับขี่ยานพาหนะได้ หากจำเป็นต้องดื่มมากกว่านั้น ไม่ควรดื่มบ่อย และหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่เครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?