ประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและท่าออกกำลังกายด้วยตนเอง

ประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและท่าออกกำลังกายด้วยตนเอง

HIGHLIGHTS:

  • ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
  • ผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องฝีกและบริหารการทรงตัวรวมถึงเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • เพื่อสร้างร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น

 

ประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและท่าออกกำลังกายด้วยตนเอง

ทำไมเราต้องทดสอบการทรงตัว

คนเราเมื่อมีอายุมากขึ้น ทำให้เกิดความเสื่อมของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบการมองเห็น ระบบการได้ยิน ระบบประสาท ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ความเสื่อมต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เรามีความแข็งแรงลดลง ความสามารถในการทรงตัวลดลง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเพิ่มขึ้น การหกล้มจะนำมาซึ่งปัญหาต่างๆตามมามากมาย เช่น ภาวะกระดูกหัก กระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท และความพิการ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทดสอบการทรงตัว เพื่อให้ทราบถึงระดับความเสี่ยงของการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

การทดสอบการทรงตัว

The Time Up and Go Test (TUG)

ประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและท่าออกกำลังกายด้วยตนเอง

Note: ลุกจากเก้าอี้ที่จุดตั้งต้น เดินตรงไประยะทาง 3 เมตร  แล้วหมุนตัวและเดินกลับมานั่งที่เดิม  
คนไข้กลุ่มผู้สูงอายุที่ใช้เวลามากกว่า 12 วินาทีในการตรวจจะมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม

The 30-Second Chair Stand Test

ประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและท่าออกกำลังกายด้วยตนเอง
Chair Stand—Below Average Scores
ช่วงอายุ (ปี) ชาย (จำนวนครั้ง) หญิง (จำนวนครั้ง)
60-64 <14 <12
65-69 <12 <11
70-74 <12 <10
75-79 <11 <10
80-84 <10 <9
85-89 <8 <8
90-94 <7 <4

 

Note: ให้ผู้สูงอายุประสานมือทั้งสองข้างไว้ที่หน้าอก นั่งค่อนมาทางด้านหน้าเก้าอี้  ลุกยืนตรงและนั่งลง 
จับเวลา  30 วินาที  นับจำนวนครั้งที่ทำได้ ถ้าต่ำกว่าตาราง ถือว่ามีความเสี่ยงการหกล้ม

การทดสอบการทรงตัว

The 4-Stage Balance Test

ประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและท่าออกกำลังกายด้วยตนเอง

ขั้นตอนในการทดสอบ : ในแต่ละฐานคนไข้จะต้องควบคุมการยืนในท่าทางต่างๆ เป็นเวลา 10 วินาที และคนไข้ที่สามารถควบคุมการยืนในฐานที่ 3 (ยืนต่อเท้า) ได้น้อยกว่า 10 วินาที จะมีความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม

ท่าบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

ทำท่าละ 10 ครั้ง/set   ให้ทำ 2 set

ท่าบริหารเพื่อเพิ่มการทรงตัว

ท่าที่เป็นท่าเดินให้เดิน 10 ก้าว /set  ทำ 2 set 

“หากทำตามขั้นตอนการทดสอบตามข้างต้นแล้ว มีอาการเซ หรือมีอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุ และประเมินความเสี่ยงอีกครั้งภายใต้ความควบคุมของแพทย์”

ท่าบริหารเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ

ปัจจัยที่มีผลต่อการพลัดตกหกล้ม

ปัจจัยภายใน

  1. อายุที่เพิ่มขึ้น
  2. เคยมีประวัติล้มมาก่อน
  3. กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  4. มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัวหรือการเดิน
  5. มีปัญหาในการมองเห็น
  6. ภาวะความดันต่าจากการ เปลี่ยนท่า
  7. โรคเรื้อรัง เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม โรคพาร์กินสัน เบาหวาน ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
  8. กลัวการล้ม

ปัจจัยภายนอก

  1. ไม่มีราวจับ
  2. ขั้นบันไดสูงไปหรือแคบไป
  3. มีสิ่งกีดขวางทางเดิน
  4. แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือจ้าเกินไป
  5. พื้นลื่นหรือทางต่างระดับ
  6. การใช้เครื่องช่วยเดินที่ไม่เหมาะสม
  7. ยาที่มีผลต่อระบบประสาท
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?