หยุดอาการปวดท้องเรื้อรังของเด็กๆ แบบตรงจุด

หยุดอาการปวดท้องเรื้อรังของเด็กๆ แบบตรงจุด

เด็กท้องอืด

อาการท้องอืดของเด็กๆ  เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเรื่องของโรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากปริมาณก๊าซในกระเพาะอาหารและลำไส้มากเกินไป  ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติ  เช่น เรอบ่อย  อึดอัดแน่นท้องโดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร ท้องโตเป็นพักๆ ผายลมบ่อย เป็นต้น

อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นกับคนทั่วไปได้เช่นกัน  ถ้ารับประทานอาหารปริมาณมากและเร็วเกินไป หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีก๊าซ  อาการเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เป็นเรื้อรัง ไม่สัมพันธ์กับชนิดอาหารก็มี  หรือมีความรุนแรง เช่น มีอาการมากจนทำให้รับประทานอาหารน้อยลง


เด็กท้องอืด อาการที่สามารถสังเกตได้ มีดังนี้

  • ปวดท้อง
  • น้ำหนักขึ้นน้อย
  • ท้องผูก
  • มีกลิ่นปาก
  • ผายลมเหม็น

สาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะ ท้องอืดเรื้อรัง เกิดจาก 3 ภาวะ ได้แก่

  • ปริมาณแบคทีเรียในลำไส้มากเกิน
  • ภาวะขาดเอนไซม์ย่อยนม
  • โรคลำไส้แปรปรวน

ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่พ่อแม่ต้องให้กุมารแพทย์ตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมอย่างเจาะลึกเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไร

เด็กท้องอืด ตรวจวินิฉัยด้วย การตรวจวัดลมหายใจ เพื่อหาความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร Hydrogen breath test

สามารถรู้สาเหตุที่แท้จริงของอาการท้องอืดของเด็กๆ ได้แบบ ตรงจุด ตรวจง่าย หายเร็ว

ปัจจุบันการตรวจไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนและให้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน สำหรับการตรวจหาสาเหตุของโรคท้องอืดเรื้อรัง จะใช้วิธีการตรวจด้วย เครื่องตรวจลมหายใจ (Breath test) อาศัยหลักการตรวจหาก๊าซที่ผลิตจากแบคทีเรียในทางเดินอาหารซึ่งจะซึมผ่านเข้ากระแสเลือดและปล่อยออกทางลมหายใจ โดยก๊าซที่ตรวจนั้น ได้แก่ ก๊าซไฮโดรเจน และก๊าซมีเทน

ขั้นตอนการตรวจอาการท้องอืด ด้วยเครื่องตรวจลมหายใจ (Breath test)

  • งดอาหารและน้ำก่อน 12 ชั่วโมง จากนั้นให้รับประทานสารที่ใช้ในการตรวจแยกโรค
  • ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุที่แพทย์สงสัย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสงสัยภาวะขาดเอนไซม์ย่อยนม ก็จะให้กินน้ำตาลแลคโตส แต่ถ้าสงสัยภาวะแบคทีเรียในลำไส้มากเกิน ก็จะให้กินน้ำตาลกลูโคสหรือสารแลคตูโลส เป็นต้น
  • จากนั้นจะให้ผู้ป่วยเป่าลมหายใจใส่ในถุงตรวจ ทุกๆ 15 นาที จนครบ 120 นาที แพทย์นำผลมาวิเคราะห์ต่อ
  • การทดสอบสามารถทำได้ตั้งแต่เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป   (โดยเฉพาะเด็กท้องอืดมาก น้ำหนักไม่ขึ้น  เด็กๆที่ขาดวิตามิน ทุกอายุ)

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?