Photopheresis นวัตกรรมการฉายรังสีสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านปฏิกิริยาแพ้ไขกระดูก

Photopheresis นวัตกรรมการฉายรังสีสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านปฏิกิริยาแพ้ไขกระดูก

HIGHLIGHTS:

  • นวัตกรรมการฉายรังสีเพื่อรักษาปฏิกิริยาแพ้ไขกระดูก หรือ Photopheresis สามารถป้องกันและรักษาภาวะสเต็มเซลล์ใหม่ต้านร่างกายผู้ป่วย (GvHD) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เครื่อง Photopheresis สามารถใช้ในการรักษา ในเด็กที่มีน้ำหนักเพียง 10 กิโลกรัม หรือเด็กเล็กได้ตั้งแต่อายุเริ่มต้นเพียง 2 ขวบเท่านั้น

Photopheresis นวัตกรรมการฉายรังสีสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านปฏิกิริยาแพ้ไขกระดูก

การปลูกถ่ายไขกระดูกเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยให้หายขาดจากโรคที่มีความรุนแรง หรืออาจจะไม่สามารถรักษาได้ในอดีต แต่ในการปลูกถ่ายไขกระดูกนั้นอาจก่อให้เกิดภาวะสเต็มเซลล์ใหม่ต้านร่างกายผู้ป่วย (Graft vs Host Disease – GvHD) โดยเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกหรือจากเลือดที่ผู้ป่วยได้รับมาจากผู้บริจาคนั้น ถึงแม้จะตรวจดูแล้วว่าเป็นชนิดเดียวกัน แต่เมื่อเข้ามาอยู่ในตัวผู้ป่วยอาจเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านได้ ทำให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ผิดปกติและอาจรุนแรงจนเสียชีวิตได้ การรักษาภาวะนี้ใช้เวลานาน โดยเฉพาะภาวะที่เกิดขึ้นในเด็ก

ปัจจุบันมีนวัตกรรมการฉายรังสีเพื่อรักษาปฏิกิริยาแพ้ไขกระดูก หรือ Photopheresis ที่สามารถป้องกันและรักษาภาวะสเต็มเซลล์ใหม่ต้านร่างกายผู้ป่วย (GvHD) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นวัตกรรม Photopheresis เหมาะสำหรับใคร

Photopheresis เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะต่อต้านเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่าย (GvHD) โดยมีอาการดังนี้

  • ผื่นขึ้นตามผิวหนัง
  • ผลการทดสอบเลือดผิดปกติ
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้
  • ตาเหลือง ตัวเหลือง
  • เหนื่อยง่าย และกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • หายใจถี่ๆ
  • ตาแห้ง ปากแห้ง

นวัตกรรม Photopheresis คืออะไร

Photopheresis เป็นขั้นตอนการรักษาที่ช่วยยับยั้งปฏิกิริยาของเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ไม่ให้เกิดการภาวะต่อต้าน

กระบวนการการรักษาโดย Photopheresis

  1. แพทย์จะใส่สายสวนหลอดเลือดดำให้แก่ผู้ป่วย เพื่อต่อเข้ากับเครื่อง Photopheresis
  2. เครื่องจะดูดเลือดผู้ป่วยทางสายสวนหลอดเลือดดำ เลือดจะแยกเม็ดเลือดขาวออกจากเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด จากนั้นเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดจะถูกส่งคืนกลับให้ผู้ป่วย
  3. ส่วนเม็ดเลือดขาวจะผ่านเข้าสู้การฉายแสง UV เพื่อทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานลดลง ไม่เกิดการต่อต้านหรือทำร้ายเซลล์ของผู้ป่วย
  4. จากนั้นเม็ดเลือดขาวที่ผ่านการฉายแสงจะถูกส่งคืนกลับให้ผู้ป่วยทางสายสวนหลิดเลือดดำ

กระบวนการ Photopheresis ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง ซึ่งผู้ป่วยต้องทำการรักษาหลายครั้งในช่วงเวลา 6-12 สัปดาห์ ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้กำหนดจำนวนครั้งของการรักษาซึ่งขึ้นอยู่กับอาการหรือโรคของผู้ป่วย

ผลกระทบของ Photopheresis

ภายหลังการรักษาด้วย Photopheresis ผู้ป่วยอาจมีอาการซ่าๆ ชาๆ บริเวณนิ้วมือหรือริมฝีปาก เป็นตะคริวอ่อนเพลีย หรือ เวียนศรีษะ  ในบางกรณีผู้ป่วยอาจเกิดภาวะความดันต่ำและมีไข้สูง ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ควรแจ้งแพทย์ผู้รักษาทันทีเพื่อรับยาบรรเทาอาการดังกล่าว

ข้อควรระวังสำหรับการรักษาโดย Photopheresis

ข้อควรระวังสำคัญในการรักษาด้วย Photopheresis คือ หลีกเลี่ยงการออกแดด หากต้องโดนแดดผู้ป่วยควรทาครีมกันแดด และสวมแว่นตาที่ป้องกันแสง UVA ด้วย

การรักษาโดย Photopheresis ที่ โรงพยาบาลสมิติเวช

โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช เป็นโรงพยาบาลเดียวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่สามารถให้การรักษาด้วยเครื่อง Photopheresis ในเด็กที่มีน้ำหนักเพียง 10 กิโลกรัม หรือเด็กเล็กได้ตั้งแต่อายุเริ่มต้นเพียง 2 ขวบเท่านั้น ทีมแพทย์ พยาบาลและพนักงานผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโดยการปลูกถ่ายไขกระดูกของสมิติเวชผ่านการอบรมและปฏิบัติการด้วยเครื่อง Photopheresis มาโดยเฉพาะ พร้อมให้การรักษาอย่างเต็มที่ด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์อันทันสมัย ประกอบด้วย ห้องพักส่วนตัวที่มีระบบกรองอากาศ HEPA Filters อานุภาพสูงในการกรองฝุ่นละอองต่างๆ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเซลล์ยังอยู่ในห้องเดียวกันกับห้องผ่าตัดเพื่อความปลอดภัยของเซลล์ และคลินิกดูแลผู้ป่วยนอกของสมิติเวชสามารถให้บริการผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

*โปรดระบุ

ชื่อ*
ชื่อ*
นามสกุล*
นามสกุล*
ประเภทคำถาม*
ประเภทคำถาม*
คำถาม*
คำถาม*
อีเมล*
อีเมล*
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?